ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2
คำสำคัญ:
ความคิดเห็นของครู, การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 โรงเรียน จำนวน 254 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 52 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .97 ของครอนบาค (Cronbach’s Alppha Coefficient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเมื่อพบความแตกต่างผู้วิจัยใช้การทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยาย-โอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมา ด้านการวัดผล ประเมินผล ด้านการแนะแนวการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการพัฒนาหลักสูตร
- 2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา-ปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- 3. ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา-ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- 4. ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา-ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านแนะแนวการศึกษาไม่แตกต่าง
References
เจษฎา บุญมาโฮม. (2559). หลักการแนะแนวและพัฒนาผู้เรียน. นครปฐม: โรงพิมพ์สไมล์ พริ้นติ้ง แอนด์ กราฟิกดีไซน์.
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชา ทดสอบและ วิจัยทางการศึกษา. บุรีรัมย์: สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์.
เพ็ญนภา กุลวงศ์. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาความรู้ด้านการวัดและประเมินผล ของครู วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34(96), 55-64.
พรศิริ ประสพบุญ. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10(1), 14–24.
สุลักขณา ใจองอาจ และปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนว ตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 35(97), 38-53.
เสาวลักษณ์ พรหมณะ ดร.รอยพิมพ์ใจ เพชรกุล และ นายกรีฑา วีระพงศ์. (2560). การบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่14 (65), 187-196.
วรรณา ยีซัน, เพียงพิศ ศรีประเสริฐ และสุภาพ เต็มรัตน์. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการของ สถานศึกษา ในสังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 131-138.
สำนักงานเขตพี้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 .(2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563). กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพี้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ปทุมธานี.
อัครเดช นีละโยธิน, พระราชรัตนมงคล, พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, พระณัฐวุฒิ สัพโส, วิทูล ทาชา และภัทราพร อรัญมาลา. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(2), 133-142.
อังค์วรา สุวรรณเสน, บรรจง เจริญสุข และวรรณะ บรรจง. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงาน วิชาการในโรงเรียนเอกชน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2), 139-153.