การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ เรื่อง สถิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐริกา สิทธิชัย คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พินดา วราสุนันท์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิชา อุ่นวรรณธรรม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
  • แสงเดือน เจริญฉิม คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วสันต์ เดือนแจ้ง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง สถิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษก-วิทยาลัย สุพรรณบุรี ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ห้อง ม.3/4 จำนวนนักเรียน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง สถิติ แบบประเมินคุณภาพทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย ( )=23.08 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)=3.57 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ย ( )=8.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)=2.96 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีพัฒนาการทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ เรื่อง สถิติ สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างเรียนครั้งที่ 1 ระหว่างเรียนครั้งที่ 2 ระหว่างเรียนครั้งที่ 3 และหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เรื่อง สถิติ ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ( )=4.27 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)=0.73

Author Biographies

ณัฐริกา สิทธิชัย, คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

นิสิตหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

พินดา วราสุนันท์, คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน

วิชา อุ่นวรรณธรรม, โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

แสงเดือน เจริญฉิม, คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน

วสันต์ เดือนแจ้ง, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

References

กรธนา โพธิ์เต็ง. (2560). “การพัฒนาทักษะการสื่อสารและความสามารถในการทำโครงงาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(2), 162-175.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คันธวงศ์ ทองขาว. (2561). “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1” วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10(2), 49-57.

จุฑามาศ สุขเฉลิม. (2559). “การพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2), 494-501.

โชติกา กิตติกรณิศ. (2561). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้โครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสระประดู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3” วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 20(1), 1-7.

ทศพร ดอนบรรเทา. (2559). “การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชน” วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. 5(2), 49-59.

เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2557). “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning: PBL).” สสวท. 42(188), 14 – 17.

ธีรภัทร สุดโต. (2560). “การวัดเจตคติ” วารสารวัดผลการศึกษา. 34(96), 1-14.

น้ำทิพย์ วิมูลชาติ. (2559). “การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2), 787-800.

นิตยา ขันทะ. (2561). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(1), 25-38.

พัทธดนย์ วะนานาม. (2559). “การศึกษาโครงงานคณิตศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).

(2), 191-201.

พุทธิดา ชูศรสาย. (2560). “ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6” วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(35), 117-128.

วิสุ ช่วยมณี. (2562). “การศึกษาทักษะกระบวนการเชื่อมโยง เรื่อง เศษส่วน โดยใช้กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 16(73), 157-164.

ศศิโสภิต แพงศรี. (2561). “การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน การประยุกต์สู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษาพยาบาล” วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 29(1), 215-222.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. สืบค้น 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.

สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2545). ยุทธศาสตร์การปรับวิธีเรียน การเปลี่ยนวิธีสอน เพื่อเตรียมสู่ ความก้าวหน้าในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า.

อนัญลักษณ์ ลีละศรชัย. (2561). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3” วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 8(14), 165-181.

อรวรรณ ศรีไสยเพชร. (2559). “ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล จังหวัดสตูล” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 27(2), 61-68.

อรุณี ผ่องใส. (2561). “กระบวนการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าจากโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย” วารสารบัณฑิตวิจัย. 9(1), 39-55.

Hargrave, O. (2004). “Project-Based Learning in the classroom.” . M.A.E. Dissertation Pacific Lutheran University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16