การศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรมจากความฉลาดทางอารมณ์และ ความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ตีรณา พลอยสวัสดิ์ไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแพง
  • สุวิมล ติรกานันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความฉลาดทางอารมณ์, ความฉลาดทางจริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของพฤติกรรม จากความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 5,524 คน จาก 37 โรงเรียน สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis--EFA) ในการวิเคราะห์ข้อมูล สกัดองค์ประกอบด้วยเทคนิคแกนสำคัญ PC (Principal Component Analysis--PC) และใช้การหมุนแกนแบบออธอกอนอล (orthogonal rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (varimax method)

ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบพฤติกรรมจากความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 19 องค์ประกอบ ประกอบด้วยการเรียกร้องความสนใจ, การควบคุมอารมณ์, ความเมตตากรุณา, การคิดอย่างมีเหตุผล, การรบกวนชั้นเรียน, ความมีระเบียบวินัย, การขาดความมั่นใจตนเอง, ความมีสัมมาคารวะ, ความมีจิตสาธารณะ, การให้อภัย, การเข้าร่วมกิจกรรม, การรับผิดชอบตนเอง, การเข้าสังคม, การให้อภัยตนเอง, ความซื่อสัตย์, ความรอบคอบ, ความสุภาพ, การรักษาสัญญา และการเอาตัวรอด ทั้ง 19 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 59.057

Author Biographies

ตีรณา พลอยสวัสดิ์ไชย , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแพง

นิสิตปริญญาโท สาขาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแพง

สุวิมล ติรกานันท์ , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

กมลทิพย์ ศรีหาเศษ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ ดร. ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). อีคิว:ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

ธีรภา เกษประดิษฐ. (2544). ปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 4 ภาค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). จิตสาธารณะ:คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 31(89), 33-45.

นิรุตต์ ดำรี. (2552). ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังบูรพา อำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นุชจรี สรรพศรี. (2545). พฤติกรรมการควบคุมอารมณ์:กรณีศึกษาบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประสิทธิ์ ทองอุ่น. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ปิยนุช ชมภูกาศ. (2560). ความเมตตากรุณาต่อตนเอง. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34(95), 1-14.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.

พัชรินทร์ เพลินทรัพย์ และประสงค์ พรหมเครือ. (2560). การพัฒนาแบบทดสอบเชาว์อารมณ์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34(95), 15-29.

วิภา เจียรสุมัย. (2540). การสร้างแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพเรียกร้องความสนใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 8).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริลักษณ์ โดดหนู. (2558). ความฉลาดทางจริยธรรม แรงจูงใจภายใน มิตรภาพ และการเรียนรู้แบบกำกับตนเองของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมพร สุทัศนีย์. (2547). จิตวิทยาการปกครองชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวพร มากคุณ, ดลดาว ปูรณานนท์ และเพ็ญนภา กุลนภาดล. (2561). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการให้อภัยของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(98), 54-67.

สุขุมาล เกษมสุข. (2548). การปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็ก. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์:

แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันตชัย ศรีโคตร. (2549). ชีวิตนี้ใช่ว่าจะมีดีแค่อย่างเดียว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มาย แบ็งค็อค.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Essex: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16