การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่เกี่ยวกับผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผลการเรียน, วิชาภาษาอังกฤษ, วิเคราะห์จำแนกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับการจำแนกกลุ่มผลการเรียนสูงและผลการเรียนต่ำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และสร้างฟังก์ชั่นทำนายกลุ่มผลการเรียนสูงและกลุ่มผลการเรียนสูง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 18,179 คน ซึ่งสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผลการเรียนต่ำ (เกรด 0 1 และ 1.5) และกลุ่มผลการเรียนสูง (เกรด 3 3.5 และ 4) จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ความสัมพันธ์กับเพื่อน ความสัมพันธ์ในครอบครัว บรรยากาศในการเรียนรู้ และพฤติกรรมการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์จำแนกพหุ (discriminant analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มผลการเรียนสูงมีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ความสัมพันธ์กับเพื่อน ความสัมพันธ์ในครอบครัว บรรยากาศในการเรียนรู้ และพฤติกรรมการเรียนสูงกว่ากลุ่มผลการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของกลุ่มผลการเรียนสูงและผลการเรียนต่ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ตัวแปรที่มีน้ำหนักสูงสุดในฟังก์ชั่นแบ่งกลุ่ม คือ พฤติกรรมการเรียน (X5) รองลงมาคือ เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (X1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว (X3) ความสัมพันธ์กับเพื่อน (X2) และบรรยากาศในการเรียน (X4) ตามลำดับ การสร้างฟังก์ชั่นทำนายกลุ่มผลการเรียนด้วยวิธี Stepwise Estimation ได้ฟังก์ชั่นทำนายกลุ่ม ZY = .830ZX5 + .673ZX1 โดยสามารถทำนายสมาชิกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 86.50
References
กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้น 18 มกราคม พ.ศ. 2561 จาก http://english.obec.go.th/english/2013/index.php/th/2012-08-08-10-26-5/60-2014-04-05-08-29-13.
ฐิตารีย์ สุโอ๊ะ. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เนตรชนก วงศ์สุเทพ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนศิลป์ (ภาษาจีน) ในโรงเรียนสังกัดสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัย บูรพา.
ปนัดดา หัสปราบ. (2557). แนวทางการนำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
พระมหาสมคิด เพ็ชรดี ทราย ศรีเงินยวง และ ภัทรพรรณ บุญยะปานะสาร. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบด้านการเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายประถม). วารสารการ วัดผลการศึกษา, 32(92), 52-62.
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์. (2539). การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญ ศึกษา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิชา ขวัญอ่อน. (2557). ปัจจัยจำแนกความสามารถทางภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีมหา วิทยาลัยนเรศวร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 ฉบับที่ 5 ค่าสถิติแยกตามสาระสำหรับโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อริยา คูหา และบัญญัติ ยงย่วน. (2547). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาวะรอพินิจของนักศึกษาหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Abdallah, H. E. (2016). Factors Affecting Students' Achievement in English Language Learning. Papers in Journal of Educational and Social Research, 6(2), 9-17.
Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill.
Carroll, J. B. (1963). A model of school learning. Teachers College Record, 64(8), 723- 733.
Di Pietro, R. (1994). Helping people do things with English. In Kral, T.Teacher evelopment: Making the right moves. Washington, DC: English Language Programmes Division.
Gardner, R. C., & Lambert, W. E. (1972). Motivational variables in second language acquisition. In R.C. Gardner & W. Lambert (eds.) Attitudes and motivation in second language learning. (pp. 119-216). Rowley, MA: Newbury House.
Hair, Jr., J.F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data
analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education Inc.
Klausmier, H. J. (1961). Learning and human abilities: Educational psychology. New York: Harper and Brothers.
Mary, A. M. (2014). Factors affecting students’ performance in english language in zanzibar rural and urban secondary schools. Journal of Education and Practice, 5(35), 64-77.
Moghli, S. A. A. (2013). Factors affecting students achievement at Jordanian Community Colleges. International Interdisciplinary Journal of Education, 2(9), 903-918.
Perscott, D. A. (1961). Report of conferences on child study Education Bulletin. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.
Uzezi, J. G. , & Deya, G. D. (2017). Relationship between Peer Group Influence and Students’ Academic Achievement in Chemistry at Secondary School Level. American. Journal of Educational Research, 5(4), 350-356.
Vuzo, M. (2010). Exclusion through Language: A reflection on classroom discourse in Tanzanian Secondary Schools. Papers in Education and Development, 29, 14-36.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (Third edition). New York : Harper an Row Publication.