การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธมลวรรณ นวลใย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิวะพร ภู่พันธ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. 1. โดยภาพรวม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นคะแนนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 66.50) และคะแนน O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 52.72)
  2. 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากคะแนน O-NET วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2561)
  3. 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ตัวแปรเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากคะแนนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน)

Author Biographies

ธมลวรรณ นวลใย, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นักศึกษาปริญญาโท สาขาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาการประเมินและการวิจัย

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิวะพร ภู่พันธ์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ ดร. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กมลทิพย์ ศรีหาเศษ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ ดร. ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2558). ระเบียบวิธีสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวัฒน์ มะลิวรรณ. (2556). การเขียนบันทึกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การวิเคราะห์พัฒนาการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา.

ธีรภัทร สุดโต. (2561). การวัดเจตคติ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(96), 1-14.

ปิยวดี ฆายะนานนท์. (2554). ผลของการฝึกการอนุมานตามหลักธรรมเรื่อง ความเพียรที่มีต่อความวิตกกังวลในวิชาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้งติ้ง.

พิชิต ธรรมรักษ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนแผน การเรียนศิลป์ภาษา ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญภัคร พื้นผา. (2547). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(2), 24-28.

ศิริชัย กาญจนาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ม.3 ปีการศึกษา 2557-2560 [ออนไลน์]. สืบค้น 30 มกราคม พ.ศ. 2562. จาก https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/Download/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%A13.pdf.

สมควร จำรูญพัฒน์, ไพศาล วรคำ, อรัญ ชุยกระเดื่อง, และ ไพศาล เอกะกุล. (2551). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 69-77.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2562). ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา

ปีการศึกษา 2561 [ออนไลน์]. สืบค้น 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. จาก

http://data.bopp-obec.info/emis//area_school.php.

อรรถพล อนันตวรสกุล. (24 เมษายน 2561). ต้องทำให้ ‘โอเน็ต’ มีค่า เพื่อนำไปวางแผนพัฒนาเด็ก.กรุงเทพธุรกิจ. 31, น. 16.

อิทธิฤทธิ์ พงษ์ปิยะรัตน์. (2542). อิทธิพลของปัจจัยด้านนักเรียน ครูและโรงเรียน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ด้วยการวิเคราะห์อภิมานด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น และวิธีการของกลาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.

อัมพร ม้าคนอง. (2547). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ใน พร้อมพรรณ อุดมสิน และ อัมพร ม้าคนอง (บรรณาธิการ). ประมวลบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

Kibrislioglu, N. (2015). An investigation about 6th grade students’ attitudes towards Mathematics. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 186, 64 – 69.

Niepel, C., Burrus, J., Greiff, S., Lipnevich, A. A., Brenneman, M. W., & Roberts, R. D. (2018). Students' beliefs and attitudes toward mathematics across time: A longitudinal examination of the theory of planned behavior. Learning and Individual Differences, 63, 24-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16