ปรากฏการณ์การลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา: การสร้างโมเดลการวัดเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน

ผู้แต่ง

  • เจนวิทย์ วารีบ่อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศรัณย์ ภิบาลชนม์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การลาออกกลางคัน, การคงอยู่, เหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน, โมเดลการวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปรากฏการณ์การลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน (2) สร้างและพัฒนาโมเดลการวัดเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน และ (3) เปรียบเทียบ ความแตกต่างของเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนของนิสิตกลุ่มที่ลาออกกลางคันกับ กลุ่มที่คงอยู่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2560 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้สำรวจเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน จำนวน 60 คน กลุ่มที่ 2 ใช้สำหรับสร้างและพัฒนาโมเดลการวัด จำนวน 300 คน ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม ได้มาจาก การเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 3 ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างของเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน จำนวน 554 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์ ปัจจัยเชิงสำรวจ ปัจจัยเชิงยืนยัน และความแปรปรวนพหุทางเดียว

ผลการวิจัย พบว่า (1) เหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหามีทั้งหมด 24 ข้อ โดยส่วนใหญ่เลือกเรียนตามความต้องการของตัวเองหรือความชอบส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 78.33 (2) สามารถจัดกลุ่มข้อคำถามได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทัศนคติต่อสาขาวิชาเรียนที่ส่งเสริมความก้าวหน้าของตน 2) สิ่งจูงใจภายนอก 3) โอกาสจากสาขาวิชาที่เลือกเรียน และ 4) ด้านค่านิยมสังคมไทย ซึ่งโมเดลการวัดมีความตรง โดยพิจารณาจากค่าดัชนีในโมเดล ได้แก่ = 1.673, RMSEA = 0.058, SRMR = 0.072, GFI = 0.903, AGFI = 0.856, NFI = 0.926, NNFI = 0.955, CFI = 0.966 ความตรงเชิงรวม (ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.636-0.727 ความแปรปรวนที่สกัดได้มีค่าเท่ากับ 0.441 และความเที่ยงเชิงโครงสร้างมีค่าเท่ากับ 0.759) และความตรงเชิงจำแนก ( > ค่าเฉลี่ยของความแปรปรวนที่สกัดได้ของทั้ง 2 องค์ประกอบ) ซึ่งทั้งหมดผ่านเกณฑ์การประเมิน และ (3) นิสิตกลุ่มที่ลาออกกลางคันกับกลุ่มที่คงอยู่ ให้ความสำคัญกับเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนด้านทัศนคติต่อสาขาวิชาเรียนที่ส่งเสริมความก้าวหน้าของตน ด้านโอกาสจากสาขาวิชาที่เลือกเรียน และด้านค่านิยมสังคมไทยแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ส่วน ด้านสิ่งจูงใจภายนอกนิสิตทั้ง 2 กลุ่มให้ความสำคัญไม่แตกต่างกัน

Author Biographies

เจนวิทย์ วารีบ่อ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นิสิตปริญญาเอก ปร.ด. (วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ศรัณย์ ภิบาลชนม์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เสกสรรค์ ทองคำบรรจง, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา. (2559). สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2559, จาก http://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs200471321=1

กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). กรอบการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บางกอกปรินส์.

ชวิศา เข่งสมุทร. (2549). การมองในแง่ดี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 28(82), 49-66.

เดอะอีสานเรคคอร์ด (2558). ออกนอกระบบมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับอนาคตที่ไม่แน่นอน. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2559, จาก https://isaanrecord.com/category/feature-th/

วิภาดา กาลถาง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(97), 80-90.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ห้างหุ่นส่วนจำกัดสามลดา.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.( 2555). แนะแนวการศึกษาและชีวิต (องค์ประกอบก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ). สืบค้น 4 ตุลาคม 2559, จาก http://guidance.obec.go.th/?p=1033.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bean, J. P. (1982). Student attrition, intentions, and confidence: Interactions effects in

a path model. Research in Higher Education, 17(4), 291-319.

Hair Jr, William C. Black, Barry J. Babin, Rolph E. Anderson. (2010). Multivariate Data Analysis. Upper Saddle River: NJ.

Smart, J. C., Feldman, K. A., & Ethington, C.A. (2000). Academic disciplines: Holland’s

theory and the study of college students and faculty. Nashville, TN:

Vanderbilt University Press.

Schermelleh-Engel, Moosbrugger & Muller (2003). Evaluating the Fit of Structural

Equation Models: Tests of Significance and Descriptive Goodness-of-Fit

Measures. Methods of Psychological Research Online, 8(2), 23-74.

Tinto, V. (1975). Dropout from higher education: A theoretical synthesis of recent

research. Review of Educational Research, 45(1), 89-125.

Tinto, V. (1997). Colleges as communities: Exploring the educational character of

Student persistence. Journal of Higher Education, 68(6), 599-623.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16