การศึกษาองค์ประกอบอุปสรรคการออกกำลังกายของพนักงานในบริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
องค์ประกอบ, อุปสรรคการออกกำลังกาย, พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบอุปสรรคการออกกำลังกายของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อตรวจสอบโมเดลการวัดอุปสรรค การออกกำลังกายของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 307 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ
สองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามอุปสรรคการออกกำลังกายของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25-0.69 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1) อุปสรรคการออกกำลังกายของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีค่าพิสัยของไอเกนอยู่ระหว่าง 5.69-35.83 สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้
ร้อยละ 52.74 มีจำนวน 3 องค์ประกอบ 2) โมเดลการวัดองค์ประกอบของอุปสรรค การออกกำลังกายของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( =0.27 df=1 p=.60 GFI=1.00 AGFI=1.00 CFI=1.00 RMSEA=0.00 SRMR=0.00) โดยสิ่งแวดล้อมทางสังคมมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุด รองลงมาคือ การตัดสินใจออกกำลังกาย และการขาดแรงจูงใจในการออกกำลังกาย ตามลำดับ
References
กมลมาลย์ วิวัฒน์เศรษฐสิน. (2560). เส้นทางสู่ธรรมชาติ สุขภาพส่วนบุคคล ภาวะที่ต้องทบทวน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2553). คู่มือการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เกษแก้ว เสียงเพราะ. (2561). สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2560). จิตวิทยาบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรลุ ศิริพานิช. (2541). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: วัฒนาพาณิช.
มัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล. (2542). สุขภาพผู้สูงอายุ. กำแพงเพชร: คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยี สถาบันราชภัฎกำแพงเพชร.
วิชัย ยีมิน และวิมลมาศ ประชากุล. (2557, มกราคม-มิถุนายน). อุปสรรคในการออกกำลังกายของชายมุสลิมในตำบลคูขวาง. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา. 11(1), 11-15.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2541). พฤติกรรมการออกกำลังกาย ทบทวนองค์ความรู้ สถานการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการสืบสานวัฒนธรรมไทยสู่สุขภาพที่ยืนยาว. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สมบัติ กาญจนกิจและสมหญิง จันทรุไทย. (2542). จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบูรณ์ สุริยวงศ์. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติและคณะ. (2561, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารมฉก.วิชาการ. 21(42), 60, 62-63.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.