การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคทีมเกมแข่งขัน

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ บุญทอง คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ทองปาน บุญกุศล วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD, การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค TGT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และทักษะ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับเทคนิค TGT 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับเทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ห้อง จำนวน 85 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และสถิติทดสอบ t-test independent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับเทคนิค TGT พบว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD  และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค TGT  ส่วนทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับเทคนิค TGT พบว่า กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD  และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับเทคนิค TGT ไม่แตกต่างกัน และทักษะ การคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับเทคนิค TGT ไม่แตกต่างกัน

 

References

กรวีณา ศรีละพันธ์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแข่งขัน TGT. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แคทลียา เคนทุม. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) ต่อมโนมติสารละลาย และความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(2), 240-260.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิสา กองเพ็ชร. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือตามรูปแบบ STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นราวดี จ้อยรุ่ง. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์พิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 75-88.
นารีรัตน์ ขวัญรักษ์. (2558). การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นวิธีเรียนแบบร่วมมือกลุ่มแข่งขันตอบปัญหา (TGT) เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 5(1), 124-134.
พัฒนพงศ์ สมคะเน. (2558). การพัฒนาชุดการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแข่งขันเป็นทีม (TGT) เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 5(1), 113-123.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
วาสนา จันทร์แจ้ง. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วาสนา พิระชัย. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน พูลเจริญวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริณา จ่าทอง. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ TGT กับแบบปกติ โรงเรียนพรตพิทยพยัต. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2561, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2561, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2561, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551: ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพรรณ สิงหนุวัฒนะ. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคม, 7(2), 137-157.
สุวารี ศรีอำไพวิวัฒน์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับเทคนิคทีจีที (TGT) ที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 12(2), 103-116.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2560). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
หนึ่งฤทัย ชูแก้ว. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD เรื่อง คู่อันดับและกราฟ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความพึงพอใจ ในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรัญญา แวงดีสอน. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี ระหว่างการสอนโดยใช้กลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ STAD. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 80-87.
Nichols, Joey De. (1994). The effects of cooperative learning on student achievement and motivation in a high school geometry class. dissertation abstracts international. 55(3), 460-A.
Slavin, R. E. (1980). “Cooperative learning,” review of education research. 50(2), 319-320.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning : theory, research and practice. (2nd ed). massachusetts : a simon & schuster company.
Spuler, Richard. (1991). A study of germanistik in America: The reception of german classicism, 1870-1905. dissertation abstracts international. 41(7), 3125-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31