การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
คำสำคัญ:
การสร้างแบบวัด, เทคโนโลยีสารสนเทศ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 และ 2) เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 357 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดภาคปฏิบัติ วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือโดยการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่นของแบบวัด ความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด ผลการวิจัย พบว่า
1) แบบวัดภาคปฏิบัติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 5 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เรื่องการใช้ระบบปฏิบัติการ ฉบับที่ 2 เรื่องการสืบค้นข้อมูลและการจัดการแฟ้มข้อมูล ฉบับที่ 3 เรื่องการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ ฉบับที่ 4 เรื่องการใช้โปรแกรมตารางทำงาน และฉบับที่ 5 เรื่องการใช้โปรแกรมนำเสนอผลงาน
2) คุณภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า มีค่า
ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ทั้ง 5 ฉบับ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.31 ถึง 0.79 ความเชื่อมั่นของแบบวัดภาคปฏิบัติ ทั้ง 5 ฉบับ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.81 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นของผู้ประเมินให้คะแนน 2 คน ทั้ง 5 ฉบับมีค่าอยู่ระหว่าง 0.88 ถึง 0.99 ค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพของแบบวัดภาคปฏิบัติ ทั้ง 5 ฉบับ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.71 ถึง 0.80 และค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดทั้ง 5 ฉบับ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.40 ถึง 0.45
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เชาว์ อินใย. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย. เลย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เชาว์ อินใย. (2555). การประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิโลบล นิ่มกิ่งรัตน์. (2531). การวัดผลงานภาคปฏิบัติ. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
บุษกร ทองจินดา. (2561). การสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 8(1) : 21-30.
เบญจนาฏ ใจบุญ (2561). ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน (อุภัยเพชร) จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(97) : 33-44.
ปวีณา มะแซ. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลทางการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประวิต เอราวรรณ์. (2543). เอกสารประกอบการสอนวิชาวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เผียน ไชยศร. (2529). การวัดผลงานภาคปฏิบัติ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 8(23) : 27-61.
พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). แนวคิดการสร้างแบบวัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35(97) : 10-21.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
วรวัฒน์ ชาญนรา. (2551). การวิเคราะห์ตัวบ่งชี้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ดา สาดา. (2555). การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติการทดลอง เรื่องพลังงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริขวัญ ใสแสง. (2561). การสร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด (Generalizability Theory).
วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 36(2). 55-74.
ส. วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2527). การสอบการปฏิบัติ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 1(25) : 1-12.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาฬสินธุ์ : ประสานมิตรการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เท่านั้น.
Klem, Lynn Mary. (1996). Examining a Spccial Case of Consruct Validity : Toward Deriving Implicstions for Schooling. Dissertation Abstracts International. 57(05) : 2013–A.
Iyewarun, Rose Abiodum. (1998). Evaluation of Occupational Child Care Programs In Iowa. Dissertation Abstracts Internaional. 48(7) : 1677-A.
Yaghmale F. (2003). Content validity and its estimation. Journal of Medical Education, 3(1), 25-27.