แนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชายแดนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วรรัตน์ ขยันการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุชาติ ลี้ตระกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชูศรี สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นาวิน พรมใจสา สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ความมั่นคงทางอาหาร, แนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร, ชุมชนชายแดนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชายแดนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาระดับความมั่นคง      ทางอาหารของชุมชนและประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างแนวทางความมั่นคงทางอาหารของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก  ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบง่าย ขั้นตอนที่ 2 ใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกับการสัมภาษณ์ และขั้นตอนที่ 3 จัดการสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและประเมินแนวทางโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมระดับค่อนข้างสูง แยกเป็นด้านความพอเพียง ด้านการเข้าถึง และ      ด้านการใช้ประโยชน์ มีระดับความมั่นคงทางอาหารอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าเฉลี่ย 4.00 3.79 และ 4.09 ตามลำดับ แต่ในด้านเสถียรภาพพบว่า มีระดับความมั่นคงทางอาหารปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.77 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร สามารถร่วมอธิบาย ความมั่นคงทางอาหารได้ร้อยละ 25.9 (R2 = 0.259, P = 0.05) ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด คือรายได้ รองลงมา คือ แหล่งอาหารพืชผักสวนครัว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และอายุ ตามลำดับ ผลการสนทนากลุ่มและประเมินแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ในระดับพื้นที่ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปลูกพืชปลอดสารเคมี และสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคเกี่ยวกับผลผลิตจากแปลงที่ปลูกพืช ปลอดสารเคมีที่อาจมีลักษณะไม่สวยงามเหมือนท้องตลาดทั่วไป จัดหาตลาดสำหรับ        พืชอินทรีย์และขยายการรับรู้ในวงกว้าง ส่วนแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับภาคคือ    การวางกรอบนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชปลอดสารเคมีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้ดี ปลูกพืชปลอดสารเคมีเพื่อความยั่งยืนของระบบผลิตอาหาร สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวกับ การผลิตอาหารปลอดสารพิษเพื่อให้เกิดการพัฒนาห่วงโซ่อาหารอย่างสอดคล้องกัน

References

ธีระ วงศ์สมุทร. (2552). วิกฤตอาหารขาดแคลนของโลก: โอกาสทองของประเทศไทย. วารสาร for Quality. (139). 46-50.

ทรงชัย ทองปานและนิธิมา เนื่องจำนงค์. (2562). จากนาข้าวเป็นสวนยางพารา: การเปลี่ยนแปลงวิถีการ ดำรงชีพ และความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนชาวนาริมแม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(1). 10-41.

นนทกานต์ จันทร์อ่อน. (2557). ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.pdf.

ปิยนุช ชมภูกาศ. (2560). ความเมตตากรุณาต่อตนเอง : จากแนวคิดหลักธรรมสู่การพัฒนามาตรวัด. วารสารวัดผลการศึกษา. 34 (95). 1-14.

ปิยนาถ อิ่มดี. (2547). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชน: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

มูลนิธิชีววิถี. (2550). คู่มือประชาชนเรื่องความ (ไม่) มั่นคงทางอาหารกับทางออกของประเทศไทย. นนทบุรี:

มูลนิธิชีววิถี.

เลอลักษณ์ โอทกานนท์และคณะ. (2562). โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้นำ ชุมชนและผู้ปกครองในจังหวัดสระแก้ว กรณีศึกษาตำบลตาพระยา. วารสารวัดผลการศึกษา. 36 (99). 129-142.

ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2555). ความมั่นคงทางอาหาร:แนวคิดและตัวชี้วัด. นนทบุรี: มูลนิธิชีววิถี.

ศยามนต์ เจริญรัตน์. (2560). ความมั่นคงทางอาหาร ป่าชุมชน กับการผลักดันเรื่องความเป็นธรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.cusri.chula.ac.th/backup/download/cluster5.pdf.

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2556). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Report%20Analysis%20Province/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.pdf.

สุธานี มะลิพันธ์. (2552). ความมั่นคงทางอาหารของชาวลัวะบ้านป่าก๋า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพมหานคร.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 57 (1). 211-213.

อภิชาต จงสกุล. (2554). ความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2559, จาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร : http://goo.gl/CMZoFA

อิษฏ์ อินทรภูมิ. (2560). ผลกระทบของการขยายพื้นที่เพาะปลูกต่อความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรผู้ ปลูกอ้อยในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

Anderson, M. D., & Cook, J. T. (1999). Community food security: Practice in need of theory Agriculture and Human Values. 16 (1). 141-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31