การพัฒนาโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การสร้างข้อสอบอัตโนมัติ, โมเดลข้อสอบ, วิชาคณิตศาสตร์, โปรแกรมคอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรม การสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบต้นแบบกับผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่พัฒนาจากโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) การพัฒนาโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบต้นแบบกับผลการสอบที่ได้จากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ข้อสอบ O-NET ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555-2561 โดยให้นักเรียน ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 จำนวน 105 คน ทำแบบทดสอบทั้ง 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า
- ได้โมเดลข้อสอบต้นแบบวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 50 ข้อ ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้แกนกลางวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการมีข้อสอบ จำนวน 16 ข้อ สาระที่ 2 การวัดมีข้อสอบ จำนวน 10 ข้อ สาระที่ 3 เรขาคณิตมีข้อสอบ จำนวน 9 ข้อ สาระที่ 4 พีชคณิตมีข้อสอบ จำนวน 10 ข้อ และสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมีข้อสอบ จำนวน 5 ข้อ
- โปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นสามารถเข้าใช้งานได้ที่ ทางเว็บไซต์ www.aigmath.com โปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และมีระดับความคิดเห็นจากครูผู้ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด
- 3. ผลการสอบจากแบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับผลการสอบจากแบบทดสอบต้นแบบ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ .92 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นพวรรณ สว่างบุญ, สมนึก ภัททิยธนี และชูศรี วงศ์รัตนะ. (2555). การสร้างแบบทดสอบคู่ขนานตามรูปแบบฟาเซท วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วารสารการวัดผลทางการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17 (1). 369-378.
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม และกนก พานทอง. (2562). การพัฒนา โปรแกรมการสร้างข้อสอบแบบหลาย ตัวเลือกโดยใช้วิธีการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 12 (2). 74-87.
วัฒนาวดี อัครเดชลือชา. (2556). ผลของการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการบวกและการลบเลขจำนวนไม่เกิน 1,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษา. 30 (87). 72-82.
ศศิธร จันทรมหา และเสรี ชัดแช้ม. (2561). การสร้างข้อสอบอัตโนมัติวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 16 (1). 138-149.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test: O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 สำหรับศูนย์สอบ. กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560. รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561, จาก http://3.ipst.ac.th.th2primary_math/ebook.
สมกิจ กิจพูนวงศ์. (2556). การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบด้วยโปรแกรม JEMS. วารสารการวัดผลการศึกษา. 30 (87). 20-31.
โสฬส สุขานนท์สวัสดิ์, เสรี ชัดแช้ม และกฤษณะ ชินสาร. (2555). การพัฒนาวิธีการคักเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจในการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์. ศูนย์การวัดผลประยุกต์. วารสารวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 10 (2). 71-85.
อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียน การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and design) ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์. หน้า 41-46.
Gierl, M. J., & Haladyna, T. M. (2013). Automatic item generation: An introduction Automatic item generation: Theory and practice. New York: Routledge.
Gierl, M. J., Zhou, J., & Alves, C. (2008). Developing a taxonomy of item model types to promote assessment engineering. The Journal of Technology, Learning and Assessment. 7 (2).
Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Focus on research methods Is the CVI an Acceptable Indicator of Content Validity? Appraisal and Recommendations. Research in Nursing & Health. 30 (4). 459-467.
Pugh, D., De Champlain, A., Gierl, M., Lai, H., & Touchie, C. (2016). Using cognitive models to develop quality multiple-choice questions. Medical teacher. 38(8). 838-843.
Singh, D., Thakur, A., & Chaudhary, A. (2015). A Comparative Study between Waterfall and Incremental Software Development Life Cycle Model. International Journal of Emerging Trends in Science and Technology. 2(4). 2202-2208.