อิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นตัวแปรคั่นกลาง
คำสำคัญ:
ทักษะทางคณิตศาสตร์, อัตมโนทัศน์, ความสนใจทางคณิตศาสตร์, พฤติกรรมที่มุ่งเน้นงาน, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลอิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรคั่นกลาง และเพื่อตรวจสอบโมเดลอิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยมีปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรคั่นกลางที่พัฒนาขึ้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝงจำนวน 4 ตัว ได้แก่ อัตมโนทัศน์ ความสนใจทางคณิตศาสตร์ พฤติกรรมที่มุ่งเน้นงาน และทักษะทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2018-2019 ในแขวงจำปาสัก สปป. ลาว จำนวน 442 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามทางจิตวิทยา และแบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงและความยากง่ายของข้อสอบโดยโปรแกรม Lertap วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยโปรแกรม Lisrel 8.80 ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลอิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะ
ทางคณิตศาสตร์ โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรคั่นกลาง ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ Relative Chi-square=1.75, GFI=0.95, CFI=0.98, NFI=0.96, NNFI=0.97, SRMR=0.04 และ RMSEA=0.04 สรุปได้ว่า อัตมโนทัศน์มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ ส่งผ่านความสนใจทางคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมที่มุ่งเน้นงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยตัวแปรอัตมโนทัศน์ ความสนใจทางคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมที่มุ่งเน้นงานสามารถร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของทักษะทางคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 22
References
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2016). แผนพัฒนาการศึกษาใน สปป. ลาว. นครหลวงเวียงจันทน์, สปป. ลาว: กระทรวงฯ.
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2017). แบบเรียนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. นครหลวงเวียงจันทน์, สปป. ลาว: กระทรวงฯ.
ดนุชา สลีวงศ์, ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ และกานต์ ทองทวี. (2561). การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (98). 133-149.
ธมลวรรณ มวลใย, ศิวะพร ภู่พันธ์ และกมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36 (100). 160-173.
ปนัดดา กุลบุตร และสิริพร ทิพย์คง. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการ ประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยการใช้เทคนิค KWDL โรงเรียนทุ่งศรีอุดมจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 31 (1). 74-84.
ปองพล ชุษณะโชค และสุปาณี สนธิรัตน. (2556). อัตมโนทัศน์ การเสริมสร้างพลังอำนาจ การเลียนแบบพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ กับบุคลิกภาพเอื้อเฟื้อของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 39 (2). 95-108.
วีระพันธุ์ ดอนท้วม, สุกัญญา รุจิเมธาภาศ และมานี แสงหิรัญ, (2561). โมเดลสมการโครงสร้างที่มีอิทธิพลต่อผลสำเร็จในการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (98). 24-37.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: 3-คิวมีเดีย.
Cai, D., Viljaranta, J., & Georgiou, G. K. (2018). Direct and indirect effects of self-concept of ability on math skills. Learning and Individual Differences, 61, 51-58.
Eccles, J. S. (2005). Subjective task value and the Eccles et al. model of achievement-related choices. In A. J. Elliot, & C. S. Dweck (Eds.), Handbook of Competence and Motivation (pp. 105-121). New York: The Guilford Press.
Fredricks, J. A. & McColskey, W. (2012). The Measurement of student engagement: A comparative analysis of various methods and student self-report instruments. In S. L. Christenson, & A. L. Reschly Cathy Wylie (Eds.), Handbook of Research on Student Engagement (pp. 763-782). New York: Springer Science.
Georgiou, G. K., Manolitsis, G., Nurmi, J. E., & Parrila, R. (2010). Does task-focused versus task-avoidance behavior matter for literacy development in an orthographically consistent language? Contemporary Educational Psychology, 35(1), 1-10.
Grigg, S., Perera, H. N., McIlveen, P., & Svetleff, Z. (2018). Relations among math self-efficacy, interest, intentions, and achievement: A social cognitive perspective. Contemporary Educational Psychology, 53, 73-86.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis (8th Edition). United Kingdom: Cengage Learning.
Kamthorn, W., Ung, P., Pitichareanpon, V., Chotpradit, R. & Suksawang. P. (2016). Development of indicator evaluation criteria for public mind in artistic-heritage conservation among Rajabhat university students, Bangkok, Thailand. Journal of the Association of Researchers. 21 (3). 145-154.
Khampheuy, K., Kornpetpanee, S. & Panupintu, W. (2016). A Casual Model of Self-Efficacy Perception on Mathematics for Grade 8 Students at Vientiane. Research Methodology and Cognitive Science, 5(2), 84-102.
Kiuru, N., Pakarinen, E., Vasalampi, K., Silinskas, G., Aunola, K., et al. (2014). Task-focused behavior mediates the associations between supportive interpersonal environments and students’ academic performance. Psychological science, 25(4), 1018-1024.
Ojose, B. (2011). Mathematics literacy: Are we able to put the mathematics we learn into everyday use? Journal of Mathematics Education. 4 (1). 89-100.
Skaalvik, E. M., Federici, R. A., & Klassen, R. M. (2015). Mathematics achievement and self-efficacy: Relations with motivation for mathematics. International Journal of Educational Research. 72. 129-136.
Ung, P., Ngowtrakul, B., Chotpradit, R., & Thavornwong, N. (2016). Spatial ability test for upper-elementary school student: Confirmatory factor and normative data analysis. Journal of the Association of Researchers. 21 (2). 48-57.
Ung, P., Kornpetpanee, S., & Suksawang. P. (2011). Influence of self-regulation and perceived self-efficacy in mathematics on anxiety of upper secondary school students in Kingdom of Cambodia. Research Methodology & Cognitive Science, 9(1), 99-111.
Ung, P., Suksawang, P., & Yingdumnoon, K. (2013). The Relationship between perceived self-efficacy and mathematics anxiety of Cambodian upper secondary school students. Proceedings of the Burapha University International Conference “Global Change Opportunity & Risk”, (pp. 1152-1159). Chonburi: Burapha University.
Viljaranta, J., Tolvanen, A., Aunola, K., & Nurmi, J. E. (2014). The developmental dynamics between interest, self-concept of ability, and academic performance. Scandinavian Journal of Educational Research. 58 (6). 734-756.
Wigfield, A., & Eccles, J. S. (2002). The development of competence beliefs, expectancies for success, and achievement values from childhood through adolescence. In A. Wigfield & J. S. Eccles (Eds). Development of achievement motivation (pp. 91-120). New York: Academic Press.
Xu, J. (2018). Reciprocal effects of homework self-concept, interest, effort, and math achievement. Contemporary Educational Psychology, 55, 42-52.