การศึกษาความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติของพนักงานราชการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตปริมณฑล
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, พนักงานราชการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติของพนักงานราชการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตปริมณฑล และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติของพนักงานราชการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตปริมณฑล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานราชการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตปริมณฑล จำนวน 202 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานราชการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติด้านโอกาสก้าวหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -.264)
References
ชัญญาพัชญ์ ฝังมะณี และ ศักดิ์สินี กลิ่นสุนทร. (2560). ความคิดเห็นของพนักงานต่อการดำเนินงานตามระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2008 ของบริษัท เมนเซิ่น เอ็นเตอร์ไพรซ์ (ประเทศไทย) จำกัด. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก http://www.southeast.ac.th/2007/wp-content/uploads/F_bus/research/011.pdf.
ดวงอุมา โสภา. (2551). ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริหารของสำนักทะเบียน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ธีระพงษ์ จันทร์ยาง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนกรณีศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (95). 47-58
แววดาว จงกลนี และ วิวรณ์ วงศ์อรุณ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการฝึกอบรมพนักงานโรงแรม: ศึกษากรณีโรงแรมในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศศิวิมล เหลืองอิงคะสุต. (2558). ความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปี 2559. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2561). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน 2560. กรุงเทพมหานคร:
นลพรรณ บุญฤทธิ์ (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชิต บุตรศรีสวย. (2545). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เขตการศึกษา 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ. (2562). การศึกษาการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักวิจัยไทยและนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ในการวิจัยเชิงปริมาณทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม การท่องเที่ยว และอื่น ๆ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (1). 303.
อรุณศรี เทวโรทร. (2562). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 36 (100). 58
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Hackman, J.R., & Oldham, G.R. (1980). Work redesign. Reading, MA: Addison-Wesley.
Maharjan, P. (2018). Factors affecting Job satisfaction. Retrieved August 22, 2020, from http://www.businesstopia.net/human-resource/factors-affecting-job- satisfaction.
Sundararaman, V. (2011). Teacher performance pay: Experimental evidence from India. Journal of Political Economy. 119 (1). 39-77.