ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายและการสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R

ผู้แต่ง

  • สรเดช บุญประดิษฐ์ สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการอ่านจับใจความ, การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมาย, การสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายและการสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมาย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและ
หลังเรียนโดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R 4) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนระหว่างการใช้ทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายและการใช้ทักษะการอ่านแบบ SQ4R 5) เปรียบเทียบทักษะการอ่าน  จับใจความภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนโดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมาย 6) เปรียบเทียบทักษะ
การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนโดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสุเหร่าบ้านไร่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 2 ห้อง  รวม 60 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมาย จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนทักษะการอ่านแบบ SQ4R จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนภาษาอังกฤษ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และสถิติทดสอบ t – test independent และ t – test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายกับใช้ทักษะการอ่านแบบ SQ4R แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้ทักษะการอ่านแบบ SQ4R
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การสอนทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ใช้ทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายและที่ใช้ทักษะการอ่านแบบ SQ4R มีทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5) การสอนทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้ใช้ทักษะการอ่านแบบแผนภูมิความหมายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ทักษะการอ่าน
จับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้ใช้ทักษะการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05

References

กมลพร สิบหมู่ และ ศิวะพร ภู่พันธ์. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การอ่านจับใจความนักเรียน : การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36 (100). 150-159.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์ธิดา แก้วกาม. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีการสอนแบบปกติ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 7 (3). 43-56.

จิราพร หนูลาย. (2551). ผลการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโล๊ะหาร จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ณฐมน วงศ์ทาทอง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเทคนิควิธีสอนอ่านแบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9 (26). 223-236.

ดุษฎี นาหาร. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ3R. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยภัทร์ ธาราสุข. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ทและแผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย). Veridian E-Journal. Silpakorn University. 8 (2). 655-668.

นภดล สันธิศิริ. (2551). การศึกษาความเข้าใจ และเจตคติในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการสอนโดยใช้แผนภูมิความหมาย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

พัชราวรรณ จันสม. (2560). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน ทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษและ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนแบบ เอส คิว โฟร์อาร์ (SQ4R) และ เค ดับเบิ้ลยู แอลพลัส (KWL-Plus). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 14 (1). 257-270.

พิบูลย์ ตัญญบุตร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบSQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (1). 312-327.

พิมพ์ศา เลี่ยมพรมราช. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบ Times Readings และการศึกษาพฤติกรรมโดยใช้กราฟศึกษาพัฒนาการทักษะการอ่านด้วยการประเมินด้วยตนเอง กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน. วารสารการวัดผล การศึกษา. 32 (91). 58-69.

เพียงดาว ไชยสาร และ ปริณ ทนันชัยบุตร. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ DR-TA ร่วมกับแผนภูมิความหมาย. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11 (4). 88-97.

ผุสดีพร จันตาใหม่. (2551). การใช้กิจกรรมผังความสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชฎา ทับเทศ. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 28 (1). 122-133.

โรงเรียนสุเหร่าบ้านไร่ (2553). หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2553. สมุทรปราการ: ม.ป.ท.

วรัญนิตย์ จอมกลาง. (2557). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความเนื้อหาเชิงเปรียบเทียบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จากการสอนโดยใช้แผนผังเวนน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบอุปนัย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชนันท์ เพ่งสุข. (2560). การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ เอส คิว โฟร์ อาร์ ร่วมกับผังความคิดในวิชาภาษาไทยที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ และเจตคติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 4 (3). 72-79.

ศศิกาญจน์ ชีถนอม. (2553). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ ภาษา(รูปแบบที่1)ที่ใช้สื่อการสอนซึ่งเน้นวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการสอนเดิม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11 (1). 132-143.

สายชล ปิ่นชัยมูล. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยวิธีสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุภรัตน์ สท้านพล. (2554). การใช้แผนภูมิความหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำลี รักสุทธี. (2553). คู่มือแก้ปัญหาการสอน การอ่านและการเขียนให้ได้ผลดี. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2550). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

Attayib Omar (2015). Improving reading comprehension by computer-based concept maps: a case study of ESP students at Umm-Algura University. British journal of education 3.

Jaime Leigh Berry (2011). The Effects of Concept Mapping and Questioning on Students’ Organization and Retention of Science Knowledge While Using Interactive Read- Alouds. Texas A & M University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01