การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติโดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบ Big 5 Learning

ผู้แต่ง

  • จารุดา จันทร์แก้ว สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบบูรณาการ, การเรียนรู้แบบ Big 5 Learning

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบ Big 5 Learning 2.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบ Big 5 Learning 4.) ทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยระหว่างการเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบ Big 5 Learning 5.) ทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยก่อนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการ 6.) ทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยก่อนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบ Big 5 Learning   กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นเกรด 8 จำนวน 2 กลุ่มรวม 20 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25562 โรงเรียน Wells International School (Onnut Campus) เขตพระโขนง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการ 2.) แผนการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบ Big 5 Learning 3.) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนภาษาไทย 4.) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และสถิติทดสอบ t – test independent และ t – test dependent

ผลการวิจัยพบว่า 1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบ Big 5 Learning แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ   ทางสถิติที่ระดับ .05 3.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบ Big 5 Learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.) การนำทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยไปใช้ในการเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบ Big 5 Learning แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5.) การนำทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยไปใช้ในการเรียนรู้แบบบูรณาการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6.) การนำทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยไปใช้ในการเรียนรู้แบบ Big 5 Learning หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกวรรณ ขอบทอง. (2559). การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (Big 5 Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (4). 1-5

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กรณ์พงศ์ พัฒนปกรณ์พงษ์. (2562). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้วิชาภาษาไทย : การประเมินตามสภาพจริง. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (95). 29-38

เครือวัลย์ มาลาศรี. (2561). ทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ Critical Thinking Observation Skill to Integrate in The Learning Management. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 5 (2). 119-130

จารีพร ผลมูล. (2558). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 : กรณีศึกษา ชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. วารสารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (2). 1-15

จุติพร อัศวโสวรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5 (3). 81-95

ชนิสรา อริยะเดชช์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องการหารสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7 (2). 188 – 203

ธมลวรรณ นวลใย. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 36 (100). 160-173

ปาระมี เกตุภูวงษ์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้กับวิธีใช้สถานการณ์จำลอง เรื่องแรงดันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางกการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ขอนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคำเหมือดแก้วบำเพ็ญวิทยา จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 11 (2). 155-170

พันทิพา เย็นญา. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 36 (99). 28-40

พิชญะ กันธิยะ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตวิจัย. 7 (2). 137-152

ภิญโญ วงษ์ทอง. (2562). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ STEAM Education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณและความพึงใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 10 (1). 94-112

มัสยา ธิติธนานันท์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น ร่วมกับการใช้ข้อมูลท้องถิ่น และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เรื่องชีวิตพืชพื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารราชพฤกษ์. 17 (3). 63-74

ยุวธิดา คำปวน. (2560). การบูรณาการ: เส้นทางแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา. 8 (1). 25-38

ณัฐศิษฏ์ ศรีสมบูรณ์. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (5 STEPS) ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 7 (1). 45-54

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.

สุดารัตน์ ยอดมงคล. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. 10 (2). 19-25

สุภาณี เส็งศรี. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ QSCCS ร่วมกับการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ในชุมชน เพื่อส่งเสริมความสามารถการเชื่องโยงทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (4). 253-265

สำนักงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ (2540). รวมบทความ บทเรียน: นวัตกรรมจากโครงการ: โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน 2540.

อุษา สระสันเทียะ. (2561). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (10). 57-64

John Dewey. (1969). philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O. Buford Toward a Philosophy of Education. pp 180-183

Lardizabal, S.A., et al. (1970). Methods and Principles of Teaching. Quezon City: Alemar-Phoenix.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01