การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนองสำหรับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาลของผู้เยี่ยมสำรวจใหม่

ผู้แต่ง

  • นวลพรรณ สูงสมสกุล สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อัจศรา ประเสริฐสิน สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การประเมินอภิมาน, แบบตรวจสอบรายการประเมิน, การตรวจเยี่ยมโรงพยาบาล, การประเมินคุณภาพ, ผู้เยี่ยมสำรวจใหม่, การประเมินอภิมานแบบตอบสนอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ (1) เพื่อพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนองสำหรับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาลของผู้เยี่ยมสำรวจใหม่ (2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนองการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาลที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบรายการ และประเด็นการสนทนากลุ่ม ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มคนในองค์กร และกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
(1) การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนองสำหรับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาลของ ผู้เยี่ยมสำรวจใหม่ พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพโรงพยาบาล ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้จัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ผู้อำนวยการของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หัวหน้าสำนักประเมินและรับรองของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ครูฝึกผู้เยี่ยมสำรวจ/หัวหน้าทีมเยี่ยมสำรวจ และได้รับรู้ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังที่มีต่อผู้เยี่ยมสำรวจใหม่ กระบวนการตรวจเยี่ยมสำรวจคุณภาพโรงพยาบาล และการปรับปรุงการเยี่ยมสำรวจ องค์ประกอบที่สำคัญของแบบตรวจสอบรายการ มี 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานด้านลักษณะของผู้ตรวจเยี่ยม ด้านกระบวนการตรวจเยี่ยม และด้านจรรยาบรรณของ
ผู้เยี่ยมสำรวจ (2) คุณภาพของแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมานแบบตอบสนอง พบว่า ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
ผ่านเกณฑ์ทุกข้อรายการทั้ง 3 มาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน รวมทุกมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ดี

References

กรณ์พงศ์ พัฒนปกรณ์พงษ์. (2561). แนวทางการประเมินหลักสูตร ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้การประเมิน อภิมานและสังเคราะห์การประเมิน. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (สาขาวิทยาการการประเมิน). กรุงเทพฯ; บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2550). HA UPDATE 2007. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ "Humanized Healthcare.. คืนหัวใจ ให้ระบบสุขภาพ" 13 – 16 มีนาคม 2550 ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นนทบุรี : บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2559). คู่มือผู้เยี่ยมสำรวจ. นนทบุรี

อำนวยพร ทองศรี (2558). การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Abma, T.A. (2006). The Practice and Politics of Responsive Evaluation. American Journal of Evaluation. 27 (1). 31-43

Stufflebeam, D.L. and Social Impact (2012). Program Evaluations Metaevaluation Checklist (Based on The Program Evaluation Standards). (Online). Available: https://pdf.usaid.gov/pdf_docs/pnady797.pdf

Sturges Keith M. and Howley, C. (2016). Responsive Meta-Evaluation: A Participatory Approach to Enhancing Evaluation Quality. American Journal of Evaluation, v38 n1 p126-137 Mar 2017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01