การสำรวจความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน
คำสำคัญ:
หลักสูตรวิทยาการการประเมิน, ความต้องการ และความต้องการศึกษาต่อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการการประเมิน ของพนักงานเอกชนและพนักงานราชการ และ (2) เพื่อต้องการศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการการประเมินของนิสิตที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นปีสุดท้าย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (survey research methodology) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับตัวอย่างจำนวน 842 คน ประกอบด้วย พนักงาน 413 คน และนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย 429 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และ ร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พนักงานและนิสิตที่กำลังเรียนอยู่ชั้นปีสุดท้าย มีความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรฯ เหมือนกันคือ แผนการเรียนแบบที่ 2 จบการศึกษาภายใน 2 ปี โดยปีที่ 1 ภาคต้น เรียน 4 รายวิชาเพื่อเพิ่มความรู้ประสบการณ์และความเข้าใจ ภาคปลาย เรียน 5 รายวิชา เพื่อเพิ่มความรู้ประสบการณ์และความเข้าใจและการทำโครงร่างทำปริญญานิพนธ์
ปีที่ 2 ภาคต้น เรียน 1 รายวิชา พร้อมกับสอบโครงร่างทำปริญญานิพนธ์ ภาคปลายเก็บข้อมูลและการทำปริญญานิพนธ์
ให้สมบูรณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (พนักงานค่าเฉลี่ย 3.95 และนิสิตค่าเฉลี่ย 3.77) รองลงมา ได้แก่ แผนการเรียนแบบที่ 4 จบการศึกษาภายใน 2 ปี มีแผนการเรียนแบบที่ 2 แต่เป็นการเรียนออนไลน์ และแผนการเรียนแบบที่ 1 จบการศึกษาภายใน 1 ปี โดยปีที่ 1 ภาคต้นเรียน 1-2 รายวิชาพร้อมกับการทำโครงร่างทำปริญญานิพนธ์ภาคปลายเก็บข้อมูลวิจัยและสอบปริญญานิพนธ์ (พนักงานค่าเฉลี่ย 3.82 และนิสิตค่าเฉลี่ย 3.75) ส่วนในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการศึกษาต่อของพนักงานและนิสิต ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นปีสุดท้าย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเหมือนกันคือ อาจารย์ผู้สอนที่มีทักษะในการสอนสนุก (พนักงานค่าเฉลี่ย 4.16 และนิสิตค่าเฉลี่ย 4.25) ปัจจัยรองลงมาที่พนักงานเลือกคือ การได้เรียนและฝึกทำงานวิจัยกับอาจารย์ในระดับประเทศ (ค่าเฉลี่ย 3.90) และการได้เรียนและไปทำงานในต่างประเทศ (การฝึกปฏิบัติขณะศึกษา) (ค่าเฉลี่ย 3.75) ส่วนปัจจัยรองลงมา ที่นิสิตเลือกคือ การได้เรียนและไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ (ค่าเฉลี่ย 4.07) และมีรุ่นพี่เครือข่ายหลังสำเร็จการศึกษา (ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน) (ค่าเฉลี่ย 4.06)
References
กาญจนา สมมิตร และคณะ. (2552). ความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติของนักเรียนในจังหวัดชียงใหม่. ทุนสนับสนุนการวิจัย. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, เชียงใหม่.
จุฑามาศ ชูจินดา, กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล และณภัทร โชคธนินกุล. (2555). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
โชติ แย้มแสง. (2552). การสำรวจความสนใจและต้องการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์ สาขาการจัดการการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธาวุฒิ ปลื้มสำราญ. (2552). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิญญู วีรยางกูร. (2557). การศึกษาความต้องการและความความหวังต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ครั้งที่ 3 การบูรณาการงานวิจัยไทยเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมอาเซียน.
วิภา บำเรอจิตร. (2542). อัตราการตอบกลับขั้นต่ำของแบบสอบถามทางไปรษณีย์ซึ่งตอบด้วยความจริงใจที่ทำให้ตัวประมาณค่าไม่ลำเอียง. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร บูรณ์เจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 4 (2): กรกฎาคม – ธันวาคม 2560. Retrieve April 25, 2020 from http://doi.org/10.14456/jmu.2017.27
Greene, C., Zugelder, B. S., Warren, L. L., & L’Esperance, M. (2020). What Factors Influence Motivation for Graduate Education? Critical Questions in Education. 11 (1). Winter: 21-37.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Temple, S. L. (2009). "Factors that Influence Students' Desires to Attend Higher Education". Seton Hall University Dissertations and Theses (ETDs). Retrieve May 1, 2020 from https://scholarship.shu.edu/dissertations/420