การศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก

ผู้แต่ง

  • ขวัญธิดา พิมพการ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
  • กฤษดา ทองทับ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
  • วรรณา จำปาทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร, พนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องการศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในบริษัทกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก ในเขตพื้นที่พระราม 2 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามจากแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และดัดแปลงจากแบบสอบถามที่มีผู้สร้างมาแล้ว
เป็นแนวทาง ความเที่ยงของแบบสอบถามซึ่งผ่านความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองใช้ (Try out) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.853 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และ
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า

1. การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 263 คน (ร้อยละ 65.75) อายุ 19-35 ปี จำนวน 287 คน (ร้อยละ 71.75) ระดับตำแหน่งงานเป็นพนักงาน จำนวน 379 คน (ร้อยละ 94.75) จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี จำนวน 235 คน
(ร้อยละ 58.75) ระยะเวลาการทำงานในองค์การ 2-5 ปี จำนวน 216 คน (ร้อยละ 54.00) รายได้ต่อเดือน 30,001- 40,000 บาท จำนวน 115 คน (ร้อยละ 28.75)

2. การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่โดยภาพรวมในปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นในแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนมากที่สุด คือ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับ ชีวิตส่วนตัว อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ของพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง

3. การวิเคราะห์ข้อมูลความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่โดยภาพรวมเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง

4. การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพัน
ต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก พบว่า

4.1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา ระยะเวลาทำงาน และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

4.2. ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ในด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตพลาสติก ได้ร้อยละ 41.30

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จํากัดสามลดา.

นันทิกานต์ เต็มกันทา. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารของ ผู้บังคับบัญชา บรรยากาศการสื่อสาร และการพัฒนาตนเองของผู้ใต้บังคับบัญชา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล, ธัญวฤณ วัทโล, และวิลาสิณี สุดประเสริฐ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เอสเอสเค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 2 (3). 27-39.

ศูนย์ข้อมูลและวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกสถาบันพลาสติก. (2563). ภาพรวมอุตสาหกรรมพลาสติกไทยประจำเดือนสิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/365- Thailand-Plastics-Industry-Snapshot-July-2020.

สุชน ทิพย์ทิพากร และ ประสพชัย พสุนนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา : สถานประกอบการในจังหวัดนครปฐม. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 9 (1). 143-158.

สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับภาษาไทย). 11 (1). 37-49.

สุภาวดี ศรีมันตะ. (2560). การบริหารค่าตอบแทนที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการสายงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Buchanan, B. (1979). Building Organizational Commitment: The Socialization of Managers in Work Organization. Administrative Science Quarterly. 19. 51.

Herzberg, F (1959). Federick; Mausner, Bernard; and Synderman, Block the Motivation to Work. New York: John Willey.

Maslow. A.A. (1943). Theory of human motivation. Psychological Review, New York: McGraw-Hill.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review,

(7), 20-23. Cochran, W.G. (1963) Sampling Techniques, Wiley, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01