การพัฒนาสื่อโดยใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐาน, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาสื่อโดยใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อที่ใช้กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับปฐมวัยชั้นอนุบาล 1 - 2 โรงเรียนวัดบ้านอ้อ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งหมดจำนวน 18 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนวัตกรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านวัดและประเมินผล จำนวน 8 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐานกิจกรรม จำนวน 12 กิจกรรม และแบบบันทึกพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ประสิทธิภาพ E1/E2 และวิเคราะห์ความแตกต่างของพัฒนาการก่อนและหลังการจัดกิจกรรมฯ โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent ผลการวิจัย พบว่า (1) กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.29/85.55 และ (2) นักเรียนมีพัฒนาการหลังการจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการเป็นฐานสูงขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ชลาธิป สมาหิโต. (2562, มกราคม-กุมภาพันธ์). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39 (1). 113-129.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556,มกราคม-มิถุนายน). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1). 7-20.
ดนุชา สลีวงศ์, ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ, และ กานต์ ทองทวี. (2561, กรกฏาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวัดผลการศึกษา. 35 (98). 133-149.
นุชฤดี รุ่ยใหม่. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดและการรู้คำศัพท์ของเด็กปฐมวัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยใช้กิจกรรมร้องเพลงและสื่อทวิภาษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ.
ปรีชา ปั้นเกิด. (2557). การใช้กิจกรรมการเล่นบอลเพื่อพัฒนามิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ภัคนันท์ ยอดสิงห์. (2560). การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของเด็กอาย 3-6 ปี. ศิลปนิพนธ์. (ศิลปประยุกต์). อุบลราชธานีฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.ถ่ายเอกสาร.
มลทพร พันธ์แก้ว. (2562,มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วารสารครุพิบูล. 7 (1). 97-107.
มานิตา เลิศปัญญา. (2562, มีนาคม). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามทฤษฎีสมองเป็นฐานผสานแนวคิด การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”. วิทยาลัยนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 3-5 ปี. ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษาศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bandura, A. Social foundation of thought and action: A Social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, 1968.
Erikson, E. Identity: Youth, and Crises. New York: Norton, 1968.