การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

ผู้แต่ง

  • บุษกร วิเศษสมบัติ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

คำสำคัญ:

การนิเทศภายในโรงเรียน, กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ, โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เป็นการวิจัยที่ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี และ 3) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 132 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ แบบประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบที (t-test แบบ dependent) แบบ One – Group Pretest – Posttest และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า

1) ครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีทุกคนมีความสนใจต้องการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้
เพื่อคุณภาพของนักเรียน ใช้การนิเทศภายในของกลุ่มสาระการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตรและให้ผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศสามารถชี้แนะการพัฒนาตนเองและแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

2) รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี มีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด แต่ละองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) มากกว่า 0.80 แสดงว่า รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้

3) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ซึ่งจำแนกรายด้าน เมื่อได้ใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 2) ด้านความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านความสามารถในการประเมินผล และ 4) ด้านความสามารถในการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน และครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีอยู่ในระดับ มากที่สุด (  = 4.88, SD = 0.65)

References

ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง. (2550). รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิสิฐ ทวีกาญจน์. (2552). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรภัทร ภู่เจริญ. (2541). แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีดจํากัด.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2556. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2563, จาก https://drive.google.com/file/d/1mKyU6tkVWlL5b6vfwHNEzqkcqVXf_H-m/view

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). กระบวนการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน. (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). สมุทรปราการ: บริษัท ออฟ เซ็ท พลัส จำกัด.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ปัญหาครู: ปัญหาที่รอการปฏิรูป. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2563, จาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-091.pdf

สุดารัตน์ สารสว่าง และ อัจฉรา นิยมาภา. (2556). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุไม บิลไบ. (2558). สมรรถนะ ทักษะและบทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2563, จาก https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2015/11/e0b89ae0b897e0b89ae0b8b2e0b897e0b882e0b8ade0b887e0b884e0b8a3e0b8b9e0b984e0b897e0b8a2e0b983e0b899e0b8a8e0b895e0b8a7e0b8a3e0b8a3e0b8a9.pdf

อัญชลี โพธิ์ทอง. (2549). นิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

อาฟฟาน เจะเตะ. (2556). เทคนิคการนิเทศ: กระบวนการสอนแนะ (Coaching). จาก http://202.143.161.75/km/research/1258525107_affarn.doc

Beach, D. M., & Reinhartz, J. (2000). Supervisory Leadership: Focus on Instruction. Boston: Allyn and Bacon.

Mink, O. G., Owen, K. Q., & Mink, B. P. (1993). Developing high-performance people: Theart ofcoaching. Reading, Massachusetts: Addision-Wesley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01