การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะอาชีพ และเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

ผู้แต่ง

  • บุษกร วิเศษสมบัติ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ, โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2562

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี แบบประเมินทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โดยผู้ปกครอง และแบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โดยนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า

1) สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี พบว่าสามารถดำเนินการได้โดยดำเนินการปรับหลักสูตรสถานศึกษาให้มีแผนการเรียนและรายวิชาเพิ่มเติม ให้รองรับสมรรถนะทางสาขาวิชา และสาขาวิชาชีพตลอดจนดำเนินการพัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมหลักสูตรทักษะอาชีพควบคู่ไปกับวิชาสามัญ โดยยึดหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นควรจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้ค้นหาอาชีพตามความต้องการของตนเองและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การฝึกทักษะอาชีพเบื้องต้น ส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายควรจัดการศึกษาผู้เรียนให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในอนาคตอย่างมีความหมายและได้รับการฝึกประสบการณ์ทางอาชีพ

2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อโครงร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ด้านแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ด้านการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี และด้านองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมี งานทำ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี รวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.88, SD = 0.24) แสดงว่า รูปแบบการจัดการศึกษา เพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี มีความเหมาะสมและสามารถนําไปใช้ได้

3) ผลจากการนำรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีไปใช้ พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 มีนักเรียนที่ได้รับผลการเรียนระดับดี (เกรด 3 ขึ้นไป) จำนวน 1,145 คน คิดเป็นร้อยละ 73.40 ภาคเรียนที่ 2 มีนักเรียนที่ได้รับผลการเรียนระดับดี (เกรด 3 ขึ้นไป) จำนวน 1,023 คน คิดเป็นร้อยละ 52.57 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 มีนักเรียนที่ได้รับผลการเรียนระดับดี (เกรด 3 ขึ้นไป) จำนวน 1,212 คน คิดเป็นร้อยละ 51.95 ภาคเรียนที่ 2 มีนักเรียนที่ได้รับผลการเรียนระดับดี (เกรด 3 ขึ้นไป) จำนวน 1,831 คน คิดเป็นร้อยละ 57.51 ในการประเมินทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 นักเรียนวางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ ด้านที่ 2 นักเรียนทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง ด้านที่ 3 นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และด้านที่ 4 นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.80, SD = 0.80)

4) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.72, SD = 0.75) และผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
(  = 4.83, SD = 0.91)

References

กรรณิกา ภู่ระหงษ์. (2547). การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเรื่องรักษ์ท้องถิ่น สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ให้นโยบาย ผอ.สพท.ทั่วประเทศ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2563, จาก https://www.moe.go.th/

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2557). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์: วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี.

ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2563). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564. สืบค้น 1 ธันวาคม 2563, จาก https://moe360.blog/2020/01/02/

ศุภโชค ปิยะสันติ์. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับโรงเรียนในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารบทเรียนจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9 (2). 175-189.

สยามรัฐออนไลน์. (2561). ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา: อาชีวะขยายผลศาสตร์พระราชา สู่นศ.-ผู้ปกครองวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์. สืบค้น 1 ธันวาคม 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/38944

สายเพ็ญ บุญแก้ว, บรรจง เจริญสุข และ ญาณิศา บุญจิตร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.

Journal of MCU Nakhondhat. 7 (9). 96-110.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับ นักเรียน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Joyce, B., & Weil, M. (2000). Model of Teaching (6th ed.). New Jersy: Prentice Hall.

Stufflebeam, D. L., & et al. (1971). Educational Evaluation and Decision – Making. Itasca, Illinois: Peacock.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01