การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิศุทธ์ปภาณ จินะวงค์ ภาควิชาการประเมินและการวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิวะพร ภู่พันธ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สมรรถนะข้ามวัฒนธรรม, สมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู, ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีข้อมูลภูมิหลังแตกต่างกัน ตัวอย่างการวิจัย คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. โดยภาพรวม ครูสังกัดกรุงเทพมหานครมีสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม อยู่ในระดับสูง
2. ค่าเฉลี่ยสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างครูเพศชายและครูเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [t(478) = 2.51, p = .01] โดยครูเพศชาย (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.15) มีค่าเฉลี่ยระดับสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมสูงกว่าครูเพศหญิง (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.05) และครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอายุ การนับถือศาสนา ระดับการศึกษาสูงสุด และประสบการณ์ในการสอนแตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biographies

พิศุทธ์ปภาณ จินะวงค์, ภาควิชาการประเมินและการวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา ภาควิชาการประเมินและการวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิวะพร ภู่พันธ์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ ดร. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ ดร. ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กมลชนก ชำนาญ. (2556). การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรุงเทพมหานคร, กองการเจ้าหน้าที่. (2561). สถิติกรุงเทพมหานคร: จำนวนครู. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก http://www.bangkok.go.th/bangkokeducation/page/sub/ 11493/พ.ศ.2561.

โกเมศ สุพลภัค. (2555). การรับรู้และการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2553). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุปัญญาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณิชาภา จันทร์เพ็ญ. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้และสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามภูมิหลังของครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันยพร พรมการ. (2560). คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนที่มีนักเรียนข้ามวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีรภัทร สุดโต. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (96). 1-14.

นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

รัชดา แสงพุก และมนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 37 (102). 14-27.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2562). การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการย้ายถิ่นฐานของประชากร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์.

สุจิตรา โซ่พิมาย. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (อุดรธานี). (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวณี อึ่งวรากร. (2558). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2 (1). 65-770.

อภิรักษ์ อ่อนสันเทียะ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อการเปิดเสรีทางการศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกรณีศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 9 (1). 66-74.

Balcazar, F. E., Suarez-Balcazar, Y., & Taylor-Ritzler, T. (2009). Cultural competence: Development of a conceptual framework. Disability & Rehabilitation. 31(14). 1153-1160.

Brooke-Garza, E. (2013). Two-way bilingual education and Latino students. Journal Articles: Reports-Research. 26. 75-85.

Ford, D. Y., & Whiting, G. W. (2008). Cultural Competence: Preparing Gifted Students for a Diverse Society. Roeper Review. 30(2). 104-110.

Greenholtz, J. (2000). Assessing cross-cultural competence in transnational education: The intercultural development inventory. High Education in Europe. 25(3). 411-416.

McKoy, C. L. (2006). Pre-service music teachers multicultural awareness exposures and attitudes: A preliminary study. Southern Music Education Journal. 2 (1). 78-94.

Myers, S. S. (2003). Development of a cultural competence assessment instrument. Journal of Nursing Measurement. 11 (1). 29-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14 — Updated on 2022-02-14

Versions