การวิเคราะห์และเปรียบเทียบสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
สมรรถนะข้ามวัฒนธรรม, สมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู, ครูสังกัดกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีข้อมูลภูมิหลังแตกต่างกัน ตัวอย่างการวิจัย คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 480 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. โดยภาพรวม ครูสังกัดกรุงเทพมหานครมีสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม อยู่ในระดับสูง
2. ค่าเฉลี่ยสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ระหว่างครูเพศชายและครูเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 [t(478) = 2.51, p = .01] โดยครูเพศชาย (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.15) มีค่าเฉลี่ยระดับสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมสูงกว่าครูเพศหญิง (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.05) และครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอายุ การนับถือศาสนา ระดับการศึกษาสูงสุด และประสบการณ์ในการสอนแตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะข้ามวัฒนธรรม
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กมลชนก ชำนาญ. (2556). การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรุงเทพมหานคร, กองการเจ้าหน้าที่. (2561). สถิติกรุงเทพมหานคร: จำนวนครู. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก http://www.bangkok.go.th/bangkokeducation/page/sub/ 11493/พ.ศ.2561.
โกเมศ สุพลภัค. (2555). การรับรู้และการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2553). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุปัญญาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิชาภา จันทร์เพ็ญ. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้และสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามภูมิหลังของครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยพร พรมการ. (2560). คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนที่มีนักเรียนข้ามวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธีรภัทร สุดโต. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (96). 1-14.
นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
รัชดา แสงพุก และมนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสาร
การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 37 (102). 14-27.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2562). การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการย้ายถิ่นฐานของประชากร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์.
สุจิตรา โซ่พิมาย. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (อุดรธานี). (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวณี อึ่งวรากร. (2558). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2 (1). 65-770.
อภิรักษ์ อ่อนสันเทียะ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อการเปิดเสรีทางการศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกรณีศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐบาล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 9 (1). 66-74.
Balcazar, F. E., Suarez-Balcazar, Y., & Taylor-Ritzler, T. (2009). Cultural competence: Development of a conceptual framework. Disability & Rehabilitation. 31(14). 1153-1160.
Brooke-Garza, E. (2013). Two-way bilingual education and Latino students. Journal Articles: Reports-Research. 26. 75-85.
Ford, D. Y., & Whiting, G. W. (2008). Cultural Competence: Preparing Gifted Students for a Diverse Society. Roeper Review. 30(2). 104-110.
Greenholtz, J. (2000). Assessing cross-cultural competence in transnational education: The intercultural development inventory. High Education in Europe. 25(3). 411-416.
McKoy, C. L. (2006). Pre-service music teachers multicultural awareness exposures and attitudes: A preliminary study. Southern Music Education Journal. 2 (1). 78-94.
Myers, S. S. (2003). Development of a cultural competence assessment instrument. Journal of Nursing Measurement. 11 (1). 29-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-02-14 (3)
- 2022-02-14 (2)
- 2022-02-14 (1)