กรอบความคิด การสนับสนุนทางสังคม กับความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วิรัชต์ตา ปานดิษฐ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เฉลิมขวัญ สิงห์วี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พนมพร พุ่มจันทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กรอบความคิด, การสนับสนุนทางสังคม, ความเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับของกรอบความคิด การสนับสนุนทางสังคม และความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดกับความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จำนวน 358 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบความคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ แบ่งเป็น กรอบความคิดแบบเติบโต อยู่ในระดับสูง กรอบความคิดแบบยึดติด อยู่ในระดับปานกลาง การสนับสนุนทางสังคม และความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ อยู่ในระดับสูง 2) กรอบความคิดแบบเติบโตมีความสัมพันธ์กับความเพียรของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกรอบความคิดแบบยึดติดไม่มีความสัมพันธ์กับความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ 3) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความเพียรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biographies

วิรัชต์ตา ปานดิษฐ, ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เฉลิมขวัญ สิงห์วี, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ และสุกันยา นัครามนตรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับทักษะชีวิตของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 3 (2). 85-99.

จุฬาลักษณ์ ทิพวัน และวราพร เอราวรรณ์. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้กรอบความคิดเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26 (2). 119-133.

เทอดพงษ์ แตงไทย. (2564). ผลการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่องต่อความเครียดเชิงวิชาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา. 38 (103). 184-194.

ธีระพงษ์ จันทร์ยาง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนกรณีศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34 (95). 47-58.

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังและสุขภาวะองค์รวม โดยมีความเพียรและความเครียดเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ (จิตวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงชมพู โจนส์. (2559). การสร้างกระบวนการทางความคิด (Mindset) สำหรับบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 8 (1). 1-9.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 38 (103). 227-236.

มุทิตา อดทน, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และจุฑามาศ แหนจอน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (2). 182-194.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561 จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. กรุงเทพฯ.

Duckworth, A. L., Peterson, C., Matthews, M. D., & Kelly, D. R. (2007). Grit: perseverance and passion for long-term goals. J Pers Soc Psychol. 92 (6). 1087-1101. Doi: 10.1037/0022-3514.92.6.1087

Dweck, C. S. (2012). Mindset: How You Can Fulfil Your Potential. Constable & Robinson Limited.

House. (1981). Work Stress and Social Support. Massachusetts: Addison-Wesley.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 4th. New York: Harper and Roe.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14