ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ธนพรรณ คงชนะ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรนันท์ กลันทปุระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การส่งเสริมประชาธิปไตย, นักศึกษา, ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิต 2.) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ค่านิยมพื้นฐานของประชาธิปไตยกับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยรังสิตจำนวน 3 คณะ ได้แก่ สถาบันรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์และวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 3 คณะ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิตในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าตัวแปรทางด้าน เพศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิตที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ตัวแปรทางด้าน รายได้ต่อเดือน คณะและระดับชั้นปีศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิตไม่แตกต่างกัน และพบว่า ค่านิยมพื้นฐานของประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิต

Author Biography

อรนันท์ กลันทปุระ, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

ชนันนัทธ์ รักชีพ,ปพน ณัฐเมธาวิน, และศุภวัฒน์ คูธนพงศ์ (2557). ลักษณะด้านประชากรศาสตร์ที่มี ความสัมพันธ์กับความผูกพันต่องาน ของพนักงานบริษัท เอซิสโปรเฟสชั่นนัลเซ็นเตอร์จำกัด. วารสารการวัดผลการศึกษา.

(90). 60-68.

ธีร หฤทัยธนาสันติ์. (2557). แนวคิดประชาธิปไตยในบริบทการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 25 (1). 21.

นารีรัตน์ พรหมณะ,พรชนก อิ่มน้อย, และสุภัชชา เชื้อพลายเวช. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล

การแข่งขันขององค์กรและความเหนียวแน่น ของทีม ในพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วารสารการวัดผลการศึกษา. 31 (90). 52-59.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยาการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “การพัฒนาประชาธิปไตยกับการสร้างวัฒนธรรมทางการเองแบบประชาธิปไตย.”

มนูญ จันทร์แก้ว.(2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี.สารนิพนธ์ (ศน.ม). นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, สาขารัฐศาสตร์การปกครอง

วินิจ ผาเจริญ . (2561). คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 6 (1). 146.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2556). วิธีและเทคนิควิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14