ผลของการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิดการกำกับตนเอง เพื่อเสริมสร้างวินัย ด้านความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเชิงกระบือ

ผู้แต่ง

  • รานี ลิ้มเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปวีณา อ่อนใจเอื้อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, การกำกับตนเอง, วินัยความรับผิดชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิด การกำกับตนเอง
เพื่อเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเชิงกระบือ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเชิงกระบือ จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบ (2) แบบวัดการมีวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบ และ (4) แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนจากแบบวัดการมีวินัยด้านความรับผิดชอบ ในระยะหลัง
การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบวัดการมีวินัยด้านความรับผิดชอบในระยะหลังการทดลองอยู่ที่ 2.45 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 5.07 (2) การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบช่วยให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญและความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อให้มีวินัยความรับผิดชอบทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ วินัยความรับผิดชอบต่อตนเอง วินัยความรับผิดชอบต่อครอบครัว และวินัยความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งนักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการ เข้าร่วมกิจกรรม ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม

Author Biography

รานี ลิ้มเจริญ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). จิตสาธารณะ: คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 31 (89). 33-45.

นพภู พันธ์โพธิ์. (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกกำกับตนเองต่อการทำงานให้สำเร็จในห้องเรียนของนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารรัชต์ภาคย์. 13 (30). 267-278.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). วินัย:เรื่องใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพฯ: เพ็ทแอนด์โฮม.

วันปิยะ เลิศปิยะวรรณ (2560). ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค: แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดประเมิน. วารสารวัดผลทางการศึกษา. 34 (95). 15-28.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

สาลินี จงใจสุรธรรม. (2558). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ใรศตวรรษที่ 21. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 7 (1). 16-26.

สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อการเสริมสร้างความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9 (2). 308-328.

สุมาลี ตังคณานุรักษ์, อรทัย วิมลโนธ, และเกรียงไกร นะจร. (2559). การวิจัยและพัฒนารูปแบบเพื่อการพัฒนาความรับผิดชอบการควบคุมและความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. คณะครุ-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). คู่มือการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาพและปัจจัยการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: 21 พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2554). สร้างวินัยให้ลูกคุณ. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์.

Bandura, A. (1976). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14