ผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวตามขั้นตอนการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทัน สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ผู้แต่ง

  • ปภานันท์ ฟักเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปวีณา อ่อนใจเอื้อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมแนะแนว, การคิดวิเคราะห์, การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวตามขั้นตอนการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม 2) ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมแนะแนว ตามขั้นตอนการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 90 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรม แนะแนวตามขั้นตอนการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ 2) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมฯ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นในการเข้าร่วมกิจกรรมฯ และต่อผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติพาราเมตริก t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีคะแนนจาก แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีความคิดเห็นว่า การเข้าร่วมกิจกรรมฯ ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ มีความสามารถในการเข้าถึงสื่อได้อย่างหลากหลายและถูกต้อง สามารถวิเคราะห์ แยกแยะ พิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากสื่อสังคมออนไลน์ รู้จักการสร้างสรรค์สื่อรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น

 

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จุฑามาศ เจริญธรรม. (2549). การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด. นนทบุรี : สุรัตน์การพิมพ์.

จารุดา จันทร์แก้ว. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติโดยใช้การเรียนรู้แบบบูรณาการและแบบ Big 5 Learning. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 38 (103). 70-82

ชมพูนุท นุตาคม. (2557). การคิดเพื่อรู้เท่าทันสื่อ ใน สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. (บรรณาธิการ). รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: บริษัทมาสเตอร์ กรุ๊ปแมเนจเม้นท์ จำกัด.

นัทธ์หทัย อุบล. (2552). แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับการรู้เท่าทันสื่อหนังสือพิมพ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (3). 209-219.

ปทิตตา รอดประพันธ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเยาวชนรู้เท่าทันสื่อตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18 (4). 156-170.

ประพันธ์ศิริ สุเรารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริศนา เชี่ยวสุทธิ. (2563). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวัดผลทางการศึกษา. 3 (101). 159-170.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัสลับความคิดเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด.

พันทิพา เย็นญา. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 36 (99). 28-40

ศรีดา ตันทะอธิพานิช. (2562). สังคมแห่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียสะท้อน ความรุนแรง-อันตราย สูงขึ้น. สืบค้น 21 สิงหาคม 2562, จาก https://www.springnews.co.th/thailand/266350

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สุลักขณา ใจองอาจ. (2561). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนว ตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค. วารสารวัดผลทางการศึกษา. 35 (98). 38-53.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์. 26 (80). 147-161.

Center for Media Literacy. (2008). Literacy for the 21st century: An overview &orientation guide to media literacy education (2nd ed.). Malibu, CA:Center for Media Literacy.

Marzano, Robert J. (2001). Design a new Taxonomy of Educational Objectives. Thousand Oaks, California: Corwin Press Inc.

Renee. (1998). The seven great debates in the media literacy movement.

Watson, G.;& Glaser, E. M. (1964). Wattson Glaser Critical Thinking. Appraisal Manual.

New York: Horcourt, Brace and World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10