การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยทางการศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คำสำคัญ:
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิจัยทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษาในภาพรวม และแต่ละบทเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3-4 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย โดยได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ซึ่งภายในห้องเรียนของแต่ละกลุ่มจะมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ จากนั้นจับสลากเลือก 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง จำนวน 30 คน ส่วนนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีการเรียนแบบปกติจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษาของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในการทดสอบระดับ Multivariate (L = 0.454 Multivariate F-statistics = 4.504, p = .000) และเมื่อพิจารณาแยกแต่ละบทเรียน ในการทดสอบระดับ Univariate พบว่า ในบทที่ 2 และ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละบทเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบทที่ 1, 3, 4, 5, 9, 10, 11 และ 12 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละบทเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในบทที่ 7 และ 8 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละบทเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2540). วิธีสอนแบบ Constructivism.(ถ่ายเอกสารประกอบการประชุม). กรุงเทพฯ: ตึกอำนวยการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหา และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันทิพา เย็นญา และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา. (36) 99. 28-40.
สวรรยา ตาขำ, อนุภูมิ คำยัง และจุฑามาส ศรีจำนงค์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารการวัดผลการศึกษา. (37) 102. 81-93.
องอาจ นัยพัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.