การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การแสดงละครของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุเหร่าบ้านไร่

ผู้แต่ง

  • สุพิชฌาย์ วงศ์สกุลเพชร วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • นันท์ธร บรรจงปรุ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การแสดงละคร, การจัดการเรียนรู้, ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร 2) เพื่อการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุเหร่าบ้านไร่ ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การแสดงละคร แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้การแสดงละคร และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การแสดงละคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุเหร่าบ้านไร่ ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การแสดงละคร มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การแสดงละคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.90 =0.31)

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2561). ไขปัญหาทักษะ 'ภาษาอังกฤษ' คนไทย 'ร่วง' ซ้ำซ้อน เพราะอะไร?. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865234.

โกมล ศรีทองสุข. (2563). ละครสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเด็ก. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 24 (ฉบับที่ 2). 127.

จงรัก ชาววาปี และคณะ. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโต้ตอบทางสรีระและแบบปกติ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 22 (ฉบับพิเศษ). 49-57.

ตนุภัทร โลหะพงศธร. (2561). ความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในยุคดิจิตอล และก้าวต่อไปของ Wall Street English สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://adaybulletin.com/talk-guest-wall-street-english- โอฬาร/17802.

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2560). โครงการพัฒนาศักยภาพครูสอนภาษาอังกฤษ BRAND’s Tutor Summer Camp. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.moe.go.th/websm/2017/jun/335.html.

บีบีซี ไทย. (2561). ทำไมคะแนนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงย่ำแย่มาติดกัน 8 ปีแล้ว. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-46093794.

ประชาชาติธุรกิจ. (2560). EF ดัชนีภาษาอังกฤษไทยควรเพิ่มทักษะการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-84893.

สทาศัย พงศ์หิรัญ. (2562). การศึกษาและปฏิบัติการสื่อสารการแสดง เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม เรื่อง มหาตมะ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. 23 (ฉบับที่ 1). 37.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). การการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาคกับอนาคตของไทยในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2562. จากhttp://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2013/5/2060_5264.pdf.

Robin Schroeter. (2561). การแสดงละครสร้างสรรค์สำหรับเด็กที่กรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2562.จาก https://robinschroeter.de/th/2018/12/24/การแสดงละครสร้างสรรค์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10