รายงานการประเมินผลโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนัก สวนกุหลาบมัธยม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

ผู้แต่ง

  • สุญาดา เฮงชัยโย โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

คำสำคัญ:

ประเมินโครงการ, โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การประเมินผลโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ 2) ประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) ประเมินผลด้านกระบวนการของโครงการ 4) ประเมินผลด้านผลผลิตของโครงการ 5) ประเมินความ   พึงพอใจที่มีต่อโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Danial L. Stufflebeam)   กลุ่มประชากร คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) จำนวน 2,655 คน การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า 1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.44) 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.54) 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( = 4.45, S.D. = 0.61) 4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( = 4.33,S.D. = 0.52) 5) ความพึงพอใจต่อโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.28, S.D. = 0.54)

Author Biography

สุญาดา เฮงชัยโย, โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

รองผู้อำนวยการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

References

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2559). การประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพรัตน์ อรรคโชติ. (2562). รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program: EP) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

เพ็ญนภา กุลวงศ์. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาความรู้ด้านการวัดและประเมินผลของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (96). 45-54.

ศมณณ์ญา บุญประสพ, สุรชัย ไชยพจน์ และ Khonchalard, K.1. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษภาคภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์. 29 (2). 158-174

สิริรัฐ กลิ่นมาลัย และวิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคลากรครู ชาวต่างชาติของผู้บริหารในโรงเรียนโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย. 11 (1). 53-58.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Stufflebeam, Daniel L. and Guili Zhang. (2017). The CIPP Evaluation Model: How to Evaluate for Improvement and Accountability. New York: The Guilford Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10