การอ่านโน้ตสากลและทักษะการปฏิบัติเมโลเดียนของนักเรียนวงเมโลเดียนระดับประถมศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดของซูซูกิ

ผู้แต่ง

  • จารุเนตร อินพหล วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ทองปาน บุญกุศล วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, การอ่านโน้ต, วงเมโลเดียน, แนวคิดของซูซูกิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านโน้ตสากลและทักษะการปฏิบัติเมโลเดียนของนักเรียนวงเมโลเดียนระดับชั้นประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้โดยมีค่าเฉลี่ย 95.8/90.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด 2) เพื่อเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านโน้ตสากลและทักษะการปฏิบัติเมโลเดียนของเรียนวงเมโลเดียนระดับชั้นประถมศึกษา ของผู้เรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80 หลังใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดของซูซูกิ ตัวอย่างคือ นักเรียนวงเมโลเดียน ประเภทเครื่องลิ่มนิ้วระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนกรุงเทพพิทยา จำนวน 20 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ชุดกิจกรรม ชุดกิจกรรม WHAT IS IN THE SONG จำนวน 4 เรื่อง ชุดกิจกรรม HOW TO PLAY MELODEON จำนวน 4 เรื่อง เพลงสำหรับการบรรเลง จำนวน 1 เพลง แบบประเมินชุดกิจกรรม WHAT IS IN THE SONG แบบประเมินชุดกิจกรรม HOW TO PLAY MELODEON และแบบประเมินการบรรเลงเพลงหลังการใช้ชุดกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่    ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มีนักเรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 90.20 ของคะแนนทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมดของนักเรียน

References

กมลชนก ภาคภูมิ. (2561). การพัฒนาสื่อการสอนวีดีทัศน์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลด้วยโปรแกรม Camtasia Studioสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัย ศรีนครินวิโรฒ. 35 (97). 2.

คมสันต์ วงศ์วรรณ์. (2553). ดนตรีตะวันตก. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฆโนทัย บ่วงเพ็ชร. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. 37 (101). 186-201.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหน่วยที่ 1-5. กรุงเทพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.ชมภูมิภาค. (ม.ป.ป.). เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร.

ฐิรภัทร อภิชิตตระกูล. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อความสามัคคี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. 37 (101), 2.

ดนุชา สลีวงศ์. (2561). การพัฒนาสื่อการสอน เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.ตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. 35 (98), 3.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2539). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุรียาสาส์น.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2561). ทฤษฏีการสอนดนตรี. [ออนไลน์]. จาก https://suppavit014.wordpress.com/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563]

ปริศนา เชี่ยวสุทธิ. (2563) การศึกษาผลการใช้ชุกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อในด้านทักษะการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. 37 (101), 159-170.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตติยา บุญหลง และคณะ.(2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล ด้วยการเรียน เชิงรุก โปรแกรม Music Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 21 (1), 2.

สิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19 (2), 8.

สุกรี เจริญสุข (2542) สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม. วารสาร. กรุงเทพฯ: สันติสิริการพิมพ์

อภิญญา เคนบุปผา. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อิสระ กีตา (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอนการอ่านเขียนโน้ตดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลทัพทัน. วารสารชุมชนวิจัย.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Houston, R.W.and others. 1972. “Developing Instructional Modules.” A Moduler System for WritingModules College of Education. Houston: University of Houston.

Meeks, S.E. (1972). Learning package versus conventional method of instruction.Dissertation Abstracts International. 32 (9): 4995-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10