ผลการบูรณาการการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับศิลปะ เพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ต้องขังหญิง

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ อินทร์ทิม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ต้องขังหญิง, การปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม, ศิลปะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับศิลปะและผลการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในการลดภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ต้องขังหญิง เรือนจำแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีที่มีอายุ 18-75 ปี โดยผู้ต้องขังหญิงทำแบบวัดประเมินภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 20 คน สุ่มเป็นกลุ่มการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับศิลปะ 10 คน และกลุ่มการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรม 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังหญิงกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับศิลปะมีค่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าผู้ต้องขังหญิงกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของภาวะซึมเศร้าภายในของทั้ง 2 กลุ่มพบว่าผู้ต้องขังหญิง มีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าในการปรึกษาทฤษฎีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดภาวะซึมเศร้านั้น ผู้ให้การปรึกษาควรบูรณาการร่วมกับศิลปะ
อันจะช่วยให้ประสิทธิผลในการลดภาวะซึมเศร้าได้ผลดียิ่งขึ้น

References

ชมพูนุช ครองขจรสุข. (2563). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีมุ่งเน้นทางออกระยะสั้นต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวัดผลการศึกษา. 146-158.

ณัชชา คำเครือ. (2550). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มโดยใช้ศิลปะบำบัดร่วมกับทฤษฎีเกลตัสท์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2555). ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. จังหวัดเชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

ภานุ สหัสสานนท์. (2558) . ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมที่มีศิลปะบำบัดเป็นสื่อต่อภาวะซึมเศร้าและความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสในชายรักชายผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยา. คณะจิตวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โยธิน จารุจุฑารัตน์. (2560). ศิลปบำบัดเพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมในหัวข้อ “สื่อสารด้วยงานศิลป์”.กรุงเทพมหานคร: กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม.

เลิศศิริร์ บวรกิตติ. (2551). ศิลปะบำบัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

วริศรา ชีพสมุทร. (2563). การส่งเสริมการปรับตัวทางอารมณ์ของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวด้วยการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีการพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม. วารสารวัดผลการศึกษา. 127-135.

Beck, A. T. (1967). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects: Hoeber Medical Division, Harper & Row.

Howell, D. C. (2007). Statistical methods for psychology CA: Thomson Wadsworth.

Winer, B. (1991). In Brown DR, Michels Km. Statistical principle in experimental design.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10