การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และ การนำเสนอ เรื่อง สถิติ (2) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐนนท์ กลำพบุตร คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พินดา วราสุนันท์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุนทราภรณ์ อุ่นวรรณธรรม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
  • อังสนา ศรีสวนแตง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วัฒนา มณีวงศ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

ทักษะการสื่อสาร, การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ศึกษาทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และ
การนำเสนอของนักเรียนหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
มีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสอบปรนัย 4) แบบประเมินทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, E1/E2, t test แบบ dependent และการวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของครูผู้ให้คะแนน 2 ท่านด้วยสูตร ICC (Intraclass Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า

  1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ ตั้งไว้ 75/75 โดยมีค่า E1/E2 เท่ากับ 77.89/76.83
  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ (2) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2) มีผลการประเมินทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนออยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.02 โดยครูผู้ให้คะแนน 2 ท่าน ให้คะแนนสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับความสอดคล้องเท่ากับ 0.83
  4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ (2)
    โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชานนท์ ศรีผ่องงาม. (2549). การพัฒนาชุดการเรียนแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (Student Teams Achievement Division : STAD) เพื่อเสริมทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา).กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงจันทร์ หลายแห่ง, นพพร ธนะชัยขันธ์ และ สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2561). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเทคนิค K-W-D-L เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11 (1). 39-54.

นิติกาญจน์ ไกรสิทธิพัฒน์. (2553). ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. นนทบุรี: สํานักพิมพ์ SR printing.

ฝนแก้ว กาฬภักดี, เนติ เฉลยวาเรศ และ ทรงศรี ตุ่นทอง. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สถิติกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (2). 67-82.

วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (3). 356-369.

ศิริพร รัตนโกสินทร์. (2546). การสร้างชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (คณิตศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวรรณา ใคร่กระโทก และ ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การใช้การ์ตูนเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5 (1). 142-147.

อนุวัฒน์ เดชไธสง. (2553). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องเวกเตอร์โดยใช้โปรแกรม C.a.R. สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (คณิตศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อำนาจ บุตรสุริย์. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 17 (77). 168-176.

Meehan, M. L. (1981). Learning activity packages: A guidebook of definitions, components organization, criteria, and aids for their development and evaluation. Appalachia Educational Lab. Available from : https://files.eric.ed.gov/ fulltext/ED221490.pdf

Sawangsri, B. (2016). Learning Package by Means of the Inductive Teaching with Group Process. Universal Journal of Educational Research. 4 (8). 1924-1929.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10