แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • นภัทร ธัญญวณิชกุล สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารและการจัดการการศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารและการจัดการศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิวัตถ์ มณีโชติ สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารและการจัดการศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยแบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 237 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ 0.995 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี
ความต้องการจำเป็น จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาพัฒนาเป็นข้อคำถามเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1) โดยภาพรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ของภาวะผู้นำ  การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

2) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ลำดับ 1 คือ ด้านการจัดการสร้างสรรค์นวัตกรรม ลำดับ 2 ด้านการจัดการเปลี่ยนแปลง และลำดับ 3     ด้านการจัดการเปลี่ยนสภาพ

3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ดังนี้

(1) ด้านการจัดการสร้างสรรค์นวัตกรรม ควรพัฒนาในเรื่องการใช้กลยุทธ์เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จเพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาไปสู่สากล การนำนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารการจัดการให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และผู้บริหารมีบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

 (2) ด้านการจัดการเปลี่ยนแปลง ควรพัฒนาในเรื่องการมีความกล้าหาญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง การบริหารต้องมีการทำงานเป็นทีม อุดมการณ์ ความมุ่งมั่น และมีความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

(3) ด้านการจัดการเปลี่ยนสภาพ ควรพัฒนาในเรื่องความสามารถปรับสภาพการกระทำหรือการปฏิบัติ ให้มีความเหมาะสมและเกิดผลดีที่สุดในทุกสถานการณ์ การพัฒนาผู้บริหารเรื่องการบริหารแบบกระจายอำนาจและเสริมสร้างพลังจูงใจการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และผู้บริหารควรกระตุ้นบุคลากรให้มีการใช้เหตุผลในการปรับเปลี่ยนและแก้ปัญหาในการทำงาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์._____. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (2560-2564). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลง:บทบาทของภาวะผู้นำและการสื่อสารในองค์การ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูประจำการด้านการประเมินเด็กปฐมวัย โดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะทางปัญญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ฐาปนวัฒน์ ชินบุตร. (2560). ทัศนะของครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา 21 อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ)

ฐิติญา แพ่งสภา. (2561). ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพกับการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ สำนักอำนวยการประจำศาลแพ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ)

บุญช่วย รวมกลาง. (2560). ความพึงพอใจของข้าราชการครูในการจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียน ในศูนย์เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 10 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

ศิริพร อาจปักษา (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครูสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร)

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2559). ทิศทางและโจทย์วิจัยของการศึกษาไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด

หทัยรัตน์ วิโย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

อังกูร เถาวัลย์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา)

Begley, P.T. (2006). Self-knowledge, capacity and sensitivity: Prerequisites to authentic leadership by school principals. Journal of Educational Administration. 44 (6). 570–589.

Claire Mason , Mark Griffin , Sharon Parker. (2014). Transformational leadership development: Connecting psychological and behavioral change. Leadership & Organization Development Journal. Vol. 35 Iss: 3. pp.174-194

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in

Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Marzano, R. J., Waters, T., & McNulty, B. A. (2005). School leadership that works:From research to results. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum.

McLaughlin, M. W. & Talbert, J. E. (2014). Professional communities and the work of high school teaching. Chicago, IL: University of Chicago Press.

Shelley D. Dionne, Francis J. Yammarino, Leanne E. Atwater, William D. Spangler. (2004). Transformational leadership and team performance. Journal of Organizational Change Management. Vol. 17 Iss: 2. pp.177-193

William Brown, Douglas May. (2012). Organizational change and development: The efficacy of transformational leadership training. Journal of Management Development. Vol. 31 Iss: 6. pp.520-536.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory analysis. Third edition. New york : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10 — Updated on 2022-02-14

Versions