This is an outdated version published on 2022-02-10. Read the most recent version.

แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผู้แต่ง

  • นภัทร ธัญญวณิชกุล สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารและการจัดการการศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารและการจัดการศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิวัตถ์ มณีโชติ สาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารและการจัดการศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยแบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 237 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ 0.995 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี
ความต้องการจำเป็น จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาพัฒนาเป็นข้อคำถามเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1) โดยภาพรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ของภาวะผู้นำ  การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

2) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ลำดับ 1 คือ ด้านการจัดการสร้างสรรค์นวัตกรรม ลำดับ 2 ด้านการจัดการเปลี่ยนแปลง และลำดับ 3     ด้านการจัดการเปลี่ยนสภาพ

3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ดังนี้

(1) ด้านการจัดการสร้างสรรค์นวัตกรรม ควรพัฒนาในเรื่องการใช้กลยุทธ์เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จเพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาไปสู่สากล การนำนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารการจัดการให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และผู้บริหารมีบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

 (2) ด้านการจัดการเปลี่ยนแปลง ควรพัฒนาในเรื่องการมีความกล้าหาญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง การบริหารต้องมีการทำงานเป็นทีม อุดมการณ์ ความมุ่งมั่น และมีความสามารถในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

(3) ด้านการจัดการเปลี่ยนสภาพ ควรพัฒนาในเรื่องความสามารถปรับสภาพการกระทำหรือการปฏิบัติ ให้มีความเหมาะสมและเกิดผลดีที่สุดในทุกสถานการณ์ การพัฒนาผู้บริหารเรื่องการบริหารแบบกระจายอำนาจและเสริมสร้างพลังจูงใจการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย และผู้บริหารควรกระตุ้นบุคลากรให้มีการใช้เหตุผลในการปรับเปลี่ยนและแก้ปัญหาในการทำงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10

Versions