ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน, การเห็นคุณค่าในตนเอง, นิสิตครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู
กลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบผสมผสานที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครูระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบผสมผสานที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่มีค่าเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 16 คน และมีความสมัครใจเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มฯ หลังจากนั้นผู้วิจัยจับคู่เป็นรายบุคคล โดยนำกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน มาเรียงเป็นคู่ ๆ แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม
แบบผสมผสานที่มีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิตวิชาชีพครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิลคอกซัน และแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากนิสิตวิชาชีพครูกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน นิสิตวิชาชีพครูกลุ่มทดลองมีการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ
2) หลังจากนิสิตวิชาชีพครูกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน นิสิตวิชาชีพครูกลุ่มทดลอง มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านิสิตวิชาชีพครูกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2553). Self Esteem พลังแห่งความเชื่อมั่น. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์.
จันทร์เพ็ญ แสงอรุณ. (2557). การให้การปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling). นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ดวงมณี จงรักษ์. (2560). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบําบัดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
ทราย ศรีเงินยวง. (2562). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้างทักษะการควบคุมตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36 (99). 1-17
นิมิตา ปาละวงศ์. (2556). ผลของวรรณกรรมบำบัดและการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา)). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปุริมาพร แสงพยับ. (2553). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีต่อการตระหนักรู้และ
การเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
พงศ์วัชร ฟองกันทา. (2563). ระดับการรับรู้คุณค่าของตนเอง: ผลกระทบต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครูฝึกสอน. วารสารรัชต์ภาคย์. 14 (37). 178-187.
วรรณวรี ธีสุระ. (2556). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-18 ปี. (วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา)). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรณี แกมเกตุ. (2562). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ed.). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรี ทรัพย์มี. (2554). ทฤษฎีและกระบวนการให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาดา กาลถาง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (97). 80-90
อัญชลา จิตตานันท์. (2560). การให้คําปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างการสํานึกรู้คุณของนักเรียนวัยรุ่น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Corey. (2017). Theory and practice of group counseling (10 ed.). Canada: Brook/Cole Cengage learning.
Maslow, A. H. (1997). Motivation and Personality. New York: Pearson.
Rosenberg, M. (1981). Social psychological perspectives. New York: Basic Book.
Shertzer and Stone. (1974). Group counseling fundamentals of counseling. New York: Houghton mifftin, Company.
Thompson, R. A. (2003). Counseling techniques : Improving relationships with others, ourselves, our families, and our environment. New York: Brunner Routledge.
Trotzer, J. P. (1999). The Counselor and the Group: Intergrating Theory, Training and Practice. MI: Edward Brother.