การพัฒนาแบบสอบคู่ขนานวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน, แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับ, ลักษณะเฉพาะของแบบสอบ, แบบสอบคู่ขนานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของมโนทัศน์คลาดเคลื่อนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2. เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3. เพื่อตรวจสอบความเป็นคู่ขนานของแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับ
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแบบสอบคู่ขนานที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบคู่ขนานวินิจฉัย มโนทัศน์ที่คลาดเลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับจำนวน 2 ฉบับ โดยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา มีการหาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย แจกแจงความถี่และหาค่า ร้อยละ หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์ ค่าสถิติแคปปา และค่า RMSD ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์คลาดเคลื่อนในเรื่องพลังงานทดแทนมากที่สุด
2. ผลการพัฒนาลักษณะแบบสอบคู่ขนานวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับ มีจำนวน
2 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ ในแต่ละข้อประกอบด้วยข้อสอบ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ระดับเนื้อหา (Answer tier หรือ
A tier) ระดับที่ 2 ระดับเหตุผล (Reason tier หรือ R tier) และระดับที่ 3 ระดับความมั่นใจ (Confidence tier หรือ
C tier) โดยสร้างผังข้อสอบและสร้างตารางวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ จากนั้นได้พัฒนามาเป็นแบบสอบคู่ขนาน และมีการตรวจสอบค่าความยาก อำนาจจำแนก ความตรง ความเที่ยง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
3. ความสอดคล้องระหว่างผลการวินิจฉัยจากแบบสอบคู่ขนานพบว่า มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง (Kappa = 0.60) ผลการตรวจสอบความเป็นคู่ขนานโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) พบว่า ค่าความยาก อำนาจจำแนก และความเที่ยงของแบบสอบเป็นคู่ขนานกัน ส่วนการทดสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) พบว่า แบบสอบระดับที่ 1 (A tier) มีข้อที่เป็นคู่ขนานกันจำนวน 18 ข้อ ยกเว้นข้อที่ 2 และข้อที่ 14 แบบสอบระดับที่ 2 (R tier) มีข้อที่เป็นคู่ขนานกัน 14 ข้อ ยกเว้นข้อที่ 1, 4, 7, 8, 11 และ 17
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
ขวัญฤทัย เที่ยงจันทราทิพย์ และคณะ. (2559). มโนทัศน์เรื่องเซลล์และการแบ่งเซลล์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์, 27(3), 95-110.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติกา ภาษีผล. (2563). การพัฒนาแบบสอบคู่ขนาน: การสร้างและการวิเคราะห์ความเป็นคู่ขนาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2551). เอกสารวิชา 2757305 การวัดและการประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
ธนบดี อินหาดกรวด. (2560). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
พิทักษ์พงษ์ สมปาน และ กรีฑา แก้วคง. (2561). มโนทัศน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เกี่ยวกับการเกิดฤดู. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(2), 162-170.
เพ็ญนภา กุลวงศ์. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาความรู้ด้านการวัดและประเมินผลของครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(96), 45-54.
มนัสสิริ อินทร์สวาท. (2559). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยแบบสามระดับสำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ระดับความมั่นใจที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เลิศบุษยา ไทยเจริญ. (2558). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับวิชาชีววิทยาของนิสิตฝึกสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ศุภิสรา พวงทอง. (2560). การประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนระดับปฐมวัยโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยโดยใช้การประเมินพหุพื้นที่. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(96), 55-67.
สุรเดช อนันตสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.
Arslan, H. O., Cigdemoglu, C., & Moseley, C. (2012). A Three-tier Diagnostic test to Assess Pre-Service Teachers’ Misconceptions about Global Warming, Greenhouse Effect, Ozone Depletion, and Acid Rain. International Journal of Science and mathematical Education, 34(11) 1667-1686.
Sakip K. (2019). Evaluating University Students’ Understanding of Atmospheric Environmental Issues Using a Three-Tier Diagnostic Test. International Electronic. Journal of Environmental Education, 9(1),1-17.