การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
ลักษณะเฉพาะของแบบวัด, แบบวัด, ความฉลาดรู้ทางสุขภาวะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สังเคราะห์องค์ประกอบของความฉลาดรู้ทางสุขภาวะ (2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (3) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2563 จำนวน 740 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจประเด็นความสนใจด้านสุขภาพ ลักษณะเฉพาะของแบบวัดความฉลาดรู้ทาง
สุขภาวะฯ และแบบวัดความฉลาดรู้ทางสุขภาวะฯ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า IOC chi-square df p-value GFI AGFI RMSEA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของครอบบาค
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) องค์ประกอบความฉลาดรู้ทางสุขภาวะ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ การตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ และการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ (2) องค์ประกอบลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการทดสอบ ขอบเขตของแบบทดสอบ โครงสร้างและรูปแบบของแบบทดสอบ ลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม เกณฑ์การประเมินผล และตัวอย่างแบบวัด มีการพัฒนาแบบสำรวจประเด็นความสนใจด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาโครงสร้างลักษณะเฉพาะและตัวอย่างลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม คุณภาพของลักษณะเฉพาะฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean=4.30, SD=0.59) (3) ลักษณะแบบวัดฯ เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิดเลือกตอบ จำนวน 39 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 97.44) มีความตรงเชิงโครงสร้าง (chi-square=62.338, df=58, p=0.325, GFI=0.987, AGFI=0.980, RMSEA=0.010) มีข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 89.74 และความเที่ยงในระดับสูง (α=0.721)
References
กองสุขศึกษา. (2562). เครื่องมือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข,กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา.
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF.
จารุวรรณ เติมสุข. (2558). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะและอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา, วัดและประเมินผลการศึกษา.
โชติกา ภาษีผล (2559). ลักษณะเฉพาะของแบบวัด. สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 3(2), 32-58.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบ (Test Specification) ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2562 จาก https://www.niets.or.th/th/content/view/4573.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (literacy). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. New York: Pearson.
Mancuso, J.M. (2009). Assessment and Measurement of Health Literacy: An integrative review of the literature. Nursing and Health Sciences, 11, 77-89.
Nakayama K. et al. (2015). Comprehensive health literacy in Japan is lower than in Europe: a validated Japanese-language assessment of health literacy. BMC public health, 15, 505.
National Assessment of Adult Literacy. (2006). The Health Literacy of America’s Adults Results From the 2003 National Assessment of Adult Literacy. U.S. Department of Education.
Spann, M. (2006). Test and item specifications development. Language Assessment Quarterly, 3(1), 71-79.