การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
บทเรียนออนไลน์, การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการใช้บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) เปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลชุมชน บางบ่อ(ศุภพิพัฒน์รังสรรค์) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-Test ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในคุณภาพระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.63 คุณภาพด้านสื่อเทคโนโลยีมีคุณภาพระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.69 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.44/89.50 2) คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในกระบวนการทำโครงงานของนักเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้พบว่าอยู่ในระดับดีมาก 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
References
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2550). การประยุกตใชปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจพอเพียง, กลุมงานเศรษฐกิจพอเพียง.
จินตวีร์ คล้ายสังข์ (2554). หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐริกา สิทธิชัย และคณะ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ เรื่อง สถิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 95-97.
นพรัตน์ ธิสานนท์ และคณะ. (2560). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานผ่านการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา, 1(1), 49-50.
ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชานัน ยะเกษม และคณะ. (2561). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์แบบสอนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฉบับเทคโนโลยีการศึกษา, 2(1), 42-44.
พันทิพา เย็นญา และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(99), 29-31.
วัชราภรณ์ เพ็งสุข. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 10-12.
Kaukab, A., & Nayab, I. (2018). Effectiveness of google classroom: Teachers’ perceptions. Prizren Social Science Journal, 2(2), 52.
Taylor, A. (2014). A Look at Web-based Instruction Today: An interview with Badrul Khan,Part 1. eLearn Magazine. A Publication of ACM. Retrieved March 19th, 2014 from http://elearnmag.acm.org/archive.cfm?aid=2590180.