การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
ความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่เรียนรู้, คณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ จำแนกตามข้อมูลภูมิหลัง และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 440 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละของค่าเฉลี่ย การแจกแจงค่าความถี่แบบ 2 ทาง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) คัดเลือกตัวแปรแบบ Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกออกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเพียรพยายาม ด้านความอยากรู้อยากเห็น และด้านความกระตือรือร้นอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์ระดับความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามข้อมูลภูมิหลัง พบว่า นักเรียนทั้งเพศชายและเพศหญิง โรงเรียนทุกขนาด ทุกระดับชั้น นักเรียนที่มีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เกรด 3 – 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์และแผนการเรียนอื่น ๆ มีระดับความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถอธิบายความแปรปรวนความใฝ่เรียนรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ได้ร้อยละ 70.00 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้
สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ Y ̂ = 2.65 + 0.91 การกำหนดเป้าหมายในอนาคต + 0.62 บทบาทนักเรียน + 0.51 การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ + 0.58 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ + 0.52 การเห็นคุณค่าในตนเอง + 0.42 การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว
สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน Z_Y ̂ = 0.27 การกำหนดเป้าหมายในอนาคต + 0.17 บทบาทนักเรียน + 0.15 การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ + 0.16 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ + 0.15 การเห็นคุณค่าในตนเอง + 0.12 การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว
References
กนกวรรณ ปัจจวงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิภาภรณ์ บุญนาวา. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชนเผ่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2563:54-70). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
ธีระพงษ์ จันทร์ยาง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนกรณีศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(95), 47-58.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. (2561). ราชกิจจานุเบกษา. 135 (82ก). 1-74.
วัฒนา พาผล. (2551). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศรัณย์พร ยินดีสุข. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Bounchanh Vongthongkham, Poliny Ung และปริญญา เรืองทิพย์. (2563). อิทธิพลของอัตมโนทัศน์ต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรคั่นกลาง. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 219-229.
Emerson, P., Antonietta, G., Jonathan G., Anhron D., Regina S., & Redjie A. (2020). Factor Affecting Mathematics Performance of Junior High School Students. International Electronic Journal of Mathematics Education, 15(1), 1-13/13
Gunaseelan, B., & Pazhanivelu, G. (2016). Identifying Factors Affecting the Mathematics Achievement Through Review Analysis. International Journal of Development Research, 6(7), 8804-8809.