การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจ และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของวิศวกรในบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พัชร์สิตา อภิศาสวัตวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เฉลิมขวัญ สิงห์วี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

รับรู้ความสามารถของตนเอง, แรงจูงใจ และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจ และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของวิศวกรในบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของวิศวกรในบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของวิศวกรในบริษัทผลิตครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของวิศวกรในบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ วิศวกร ในบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 196 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .939 แบบสอบถามแรงจูงใจ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .851 แบบสอบถาม ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .941 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1) วิศวกรมีการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีแรงจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับสูง และมีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) การรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของวิศวกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของวิศวกรโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ.01

References

เกรียงสุข เฟื่องฟูพงศ์. (2554). การรับรู้ความสามารถของตนเอง การมองโลกในแง่ดี และความผูกพัน.ในงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทวันท์ วัลยะเพ็ชร์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจ และผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืชแห่งหนึ่ง. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิทธิชัย ยุกติวิสาร. (2547). ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำปาง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุทัตตา พานิชวัฒนะ. (2560). การรับรู้ความสามารถของตนเอง ทรัพยากรในงาน และความผูกพันในงาน ของพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรรัตน์ เทพพิทักษ์. (2552). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของเจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bandura, A. (1989). Social cognitive theory. In R. Vasta (Ed.), Annals of child development. Vol. 6. Six theories of child development (pp. 1-60). Greenwich, CT: JAI Press.

Bandura, A., & Cervone, D. (1983). Self-evaluative and self-efficacy mechanisms governing the motivational effects of goal systems. Journal of Personality and Social Psychology, 45(5), 1017–1028.

Boyatzis, R.E. (1982). Leadership Motive Pattern and Long-Term Success in Management. Journal of Applied Psychology, 67(6), 737-743.

Khaled N. Al Raqes. (2018). Creative Leadership and its Relationship with Creative Self-efficacy of Female Educational Supervisors in the Light of Some Variables. King Saud University.

Otilia Clipa. (2018). Relations of Style of Leadership and Achievement Motivation for Teacher. Romanian Journal for Multidimensional Education, 10(4).

Rajnandini Pillai. (2004). Transformational leadership,self-efficacy, groupcohesiveness, commitment, and performance. Emerald Group Publishing Limited, 17(2), 144-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30