การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การนำนโยบายและแนวทางการใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรปไปปฏิบัติในโรงเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • กุลชลี ธูปะเตมีย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย
  • ประกอบ คุณารักษ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรป, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

 

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามนโยบายการใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรปมาเป็นกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ศึกษาสภาพการนำนโยบายการใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรปมาเป็นกรอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปปฏิบัติ เปรียบเทียบความแตกต่างในการนำนโยบายการใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรปไปปฏิบัติระหว่างโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงและโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ และนำเสนอแนวทางการนำนโยบายการใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรปไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 181 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีนักเรียนเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2561 โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อเท็จจริงแบบ rubric score กับแบบสัมภาษณ์โดยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โดยทั่วไปโรงเรียนมีการนำกรอบอ้างอิงดังกล่าวไปใช้ในระดับปานกลาง มีการปฏิบัติตามกระบวนการการนำนโยบายการไปปฏิบัติระดับน้อย และโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET วิชาภาษาอังกฤษสูง และโรงเรียนที่มีคะแนน O-NET วิชาภาษาอังกฤษต่ำ มีการนำนโยบายการใช้กรอบอ้างอิงนี้ไปปฏิบัติแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยโรงเรียนที่มีคะแนนสูงมีการปฏิบัติตามนโยบายมากกว่า ดังนั้น แนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการตั้งเป้าประสงค์การเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการสื่อสาร การวัดผล การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง โดยมีการชี้แจงจุดประสงค์และนโยบายที่ชัดเจน พร้อมกับมอบหมายภารกิจและมีแนวปฏิบัติอย่างเหมาะสม สนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้ที่เพียงพอ ตลอดจนการกำกับติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

References

กล้า ทองขาว. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6 เรื่อง การนำนโยบายไปปฏิบัติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ขวัญฤดี ไชยชาญ, กชกร ธิปัตดี และ ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2560). การพัฒนากระบวนการประเมินความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษตามกรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 55-63.

ชญานนท์ พิริยสัตยา. (2561). การนำนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปปฏิบัติในโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 187-208.

ชัยวัฒน์ สมเกียรติประยูร, ชนมณี ศิลานุกิจ, รัตนา กาญจนพันธุ์ และ อำนวย ทองโปร่ง. (2562). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 62-77.

ปฏิมา พูนทรัพย์, วิสุทธ วิจิตรพัชราภรณ์, อัจฉรา นิยมาภา และ รังสรรค์ มณีเล็ก. (2561). แนวทางการนํานโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่การปฏิบัติในโรงเรียนมาตรฐานสากล. สักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(3), 75-86.

ณัฐดนัย สุวรรณสังข์, สุวิมล ติรกานันท์ และ กมลทิพย์ ศรีหาเศษ. (2562). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่เกี่ยวกับผลการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 136-149.

นิตยา พงษ์พัง และรัชกร ประสีระเตสัง. (2563). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเพลงภาษาอังกฤษตามสมัยนิยม. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 5(3), 205-214.

รัตนศิริ เขมราช, ประพาศน์ พฤทธิประภา, ดารณี ภุมวรรณ, และจันทร์พนิต สุระศิลป์. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 204-217.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ระดับมัธยมศึกษา. สืบค้นจาก http://ltu.obec.go.th/english/2013/index.php/th/2012-08-08-10-26-5/74-cefr.

อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2560). กรอบการเรียนการสอนและการวัดผลภาษาของสหภาพยุโรปกับการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10(1), 1-15.

เอษณ ยามาลี. (2561). ความท้าทายของการประยุกต์ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาสากลในบริบทการเรียนการสอนของไทย. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 19-29.

Kanchai, T. (2019). Thai EFL university lecturers’ viewpoints towards impacts of the CEFR on their English language curricula and teaching practice. NIDA Journal of Language and Communication, 24(35), 23-47.

Ketamon, Th., Pomduang, P., Na Phayap, N., and Hanchayanon, A. (2018). The Implementation of CEFR in the Thai Education System. Hatyai Academic Journal, 16(1), 77-88.

Scott, R. W. & Davis, G. F. (2007). Organizations and organizing: Rational, natural, and open systems perspectives. Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30