การเสริมสร้างคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี

ผู้แต่ง

  • กอบบุญ พึ่งประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

คุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่, การปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี, บุตรวัยรุ่น

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในประเทศไทย 2) ศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธีต่อคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พ่อหรือแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น อายุระหว่าง 13-15 ปี จำนวน 480 คน และระยะที่ 2 ศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พ่อและแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น อายุระหว่าง 13-15 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 24 ครอบครัว ผู้วิจัยสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมจำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ครอบครัว กลุ่มที่ 1 ได้รับโปรแกรมการปรึกษารายครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี กลุ่มที่ 2 ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิค เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี ประกอบด้วย 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมการปรึกษารายครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในภูมิภาคต่างกัน มีคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นโดยรวมแตกต่างกัน โดยภาคกลางมีค่าเฉลี่ยคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นสูงที่สุด ( = 4.49) และภาคตะวันออกมีค่าเฉลี่ยคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นต่ำที่สุด ( = 3.59)
2. ผลการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี พบว่า 1) พ่อแม่ที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษารายครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี มีคะแนนคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) พ่อแม่ที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มครอบครัวเชิงผสานเทคนิควิธี มีคะแนนคุณภาพการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลวิณ ชุ่มฤทัย.(2562). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออกระยะสั้น ต่อการแก้ปัญหาเชิงสังคมของนิสิตชั้นปีที่ 1. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(99), 116.

ปวีณภัศร์ มิ่งขวัญธนรัชต์ เพ็ญนภา กุลนภาดล และดลดาว ปูรณานนท์. (2561). ผลการปรึกษาคู่สมรสทฤษฏีกลยุทธ์ต่อความมั่นคงในชีวิตสมรส. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 68.

พนิดา มารุ่งเรือง. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่: การวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้เอสอีเอ็ม กลุ่มพหุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษากลุ่ม. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2557). คุณภาพชีวิตครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์, 25(1), 64-74.

วริศรา ชีพสมุทร, เพ็ญนภา กุลนภาดล, ประชา อินัง. (2563). การเสริมสร้างการปรับตัวทางอารมณ์ของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัว ด้วยการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 127.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). New Jersey:Lawrence Erlbaum Associates. Retrived October 15th, 2009 from http://www.ingentaconnect.com/content/apl/lcbi

Corey, G. (2008). Theory and practice of group counseling (8th ed.). Belmont, CA: Brooks/Cole.

Ferlazzo, L., & Hammond, L. A. (2009). Building parent engagement in schools. Santa Barbara, CA: Linworth.

Giovazolias, T. (2005). Counselling psychology and the integration of theory, research and practice: A personal account. Counselling Psychology Quarterly, 18(2), 161-168.

Goldenberg, I., & Goldenberg, S. (2004). Family therapy an overview (6th ed.). London: Thompson.

Norcross, J. C., & Beutler, L. E. (2008). Integrative psychotherapies. In R. J. Corsini, & D. Wedding (Eds.), Current psychotherapies (8th ed., pp. 481-511). Pacific Grove, CA: Brooks/ Cole.

Pushor, D., & Ruitenberg, C. (2005). Parent engagement and leadership (No. 134). Saskatoon SK, CA: DR. Stirling Mcdowell.

Sampson, R. J., & Laub, J. H. (2003). Crime and deviance in the life course. Annual Review of Sociology, 18, 312.

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2001). Using Multivariate Statistics. Boston: Allyn and Bacon

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30