รูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • พนิดา โตบุญเรือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา, นักเรียนวัยรุ่น, สมรรถนะทางอารมณ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบูรณาการ การปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนวัยรุ่นอายุ 13-15 ปี ที่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำนวน 36 คน ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ในระดับน้อยลงมา ( ≤ 61.00) และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดสมรรถนะทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และรูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มีต่อสมรรถนะทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น ประกอบด้วย 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยมีทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาเป็นฐานและโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาออนไลน์ทฤษฎีเล่าเรื่อง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า
               1. รูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยมีทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาเป็นฐาน ดำเนินการให้การปรึกษาจำนวน 12 ครั้ง และ 2) โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาออนไลน์ทฤษฎีเล่าเรื่อง ดำเนินการให้การปรึกษาจำนวน 8 ครั้ง
               2. ผลการใช้รูปแบบการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยมีทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาเป็นฐานมีคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบูรณาการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยมีทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาเป็นฐานมีคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาออนไลน์ทฤษฎีเล่าเรื่องมีคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาออนไลน์ทฤษฎีเล่าเรื่องมีคะแนนสมรรถนะทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). กรมสุขภาพจิต ห่วงวัยรุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า แนะคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564 จาก http://www.prdmh.com.

กวินทิพย์ จันทร์นิยม, เพ็ญนภา กุลนภาดล และดลดาว วงศ์ธีระธรณ์. (2563). ผลการปรึกษาออนไลน์ รายบุคคลทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริษัท. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 114-126.

ชมภูนุช ครองขจรสุข, เพ็ญนภา กุลนภาดล และประชา อินัง. (2563). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 146-158.

ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ. (2558). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทราย ศรีเงินยวง, อัจศรา ประเสริฐสิน และกนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์. (2562). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้างทักษะการควบคุมตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(99), 1-17.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). การให้การปรึกษาวัยรุ่น (ADOLESCENT COUNSELING) (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2563). การเสริมสร้างการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นด้วยชุดกิจกรรมเชิงจิตวิทยา. วารสารสังคมศาสตร์, 9(2), 86-96.

สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2553). การบริการด้านสุขภาพจิตทางอินเตอร์เน็ต: ลักษณะปัญหาของผู้มารับบริการและประสบการณ์ของผู้ให้บริการผ่านโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2559). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์แนวอตถิภาวนิยม ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Becerra, R., & Campitelli, G. (2013). Emotional reactivity: Critical analysis and proposal of a new scale. International Journal of Applied Psychology, 3, 161-168.

Beck, J. S. (2011). Cognitive behavior therapy: Basics and beyond (2nd ed.). New York: The Guilford Press.

Colle, L., & Del Giudice, M. (2011). Patterns of attachment and emotional competence in middle childhood. Social Development, 20(1), 51–72.

Davidson, R. J. (1998). Anterior electrophysiological asymmetries, emotion, and depression conceptual and methodological conundrums. Psychophysiology, 35(5), 607– 614.

Durlak, J. A., Domitrovich, C. E., Weissberg, R. P., & Gullotta, T. P. (Eds.). (2015). Handbook of social and emotional learning: Research and practice. The Guilford Press.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Frost, R. O., Steketee, G., & Tolin, D. F. (2012). Diagnosis and assessment of hoarding disorder. The Annual Review of Clinical Psychology, 8(1), 219-242.

Gilliam, C. M., Norberg, M. M., Villavicencio, A., Morrison, S., Hannan, S. E., & Tolin, D. F. (2011). Group cognitive-behavioral therapy for hoarding disorder: an open trial. Behaviour Research and Therapy, 49(11), 802–807.

Goldenberg, I., Stanton, M., & Goldenberg, H. (2017). Family Therapy: An Overview (9th ed.). Boston, MA: Cengage Learning.

Gross, J. J., & John, O. P. (2003). Individual differences in two emotion regulation processes: Implications for affect, relationships, and well-being. Journal of Personality and Social Psychology, 85(2), 348-362.

Henderson, D.A., & Thompson, C.L. (2010). Counseling Children. USA: Cengage Learning.

Mallen, M. J. (2005). Online counseling: dynamics of process and assessment. Ph.D., Doctor of Philosophy, Psychology (Counseling Psychology), Iowa State University.

Miller, S. D., & Hubble, M. (2011). The road to mastery. Psychotherapy Networker, 35(3), 22-31.

Muroff, et al. (2014). Cognitive behavior therapy for hoarding disorder: Follow-up findings and predictors of outcome. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/258923184_Cognitive_behavior_therapy_for_hoarding_disorder_Follow-up_findings_and_predictors_of_outcome.

Norberg, M. M., Crone, C., Kwok, C., & Grisham, J. R. (2018). Anxious attachment and excessive acquisition: The mediating roles of anthropomorphism and distress intolerance. Journal of Behavioral Addictions, 7(1), 171–180.

Norcross, J. C. (2005). The Psychotherapist's Own Psychotherapy: Educating and Developing Psychologists. American Psychologist, 60(8), 840-850.

Norcross, J., & Beutler, L. (2008). Integrative psychotherapies. In R. Corsini & D. Wedding (Eds.), Current psychotherapies (8th ed., pp. 481-511). Belmont, CA: Brooks/Cole.

Saarni, C. (2011). Emotional Competence and Effective Negotiation: The Integration of Emotion Understanding, Regulation, and Communication. In Aquilar, F., & Galluccio, M. (Eds.), Psychology and Political Strategies for Peace Negotiation. pp. 55–74. New York. NY, USA: Springer.

Strelau, J., & Zawadzki, B. (2011). Fearfulness and anxiety in research on temperament: emperamental traits are related to anxiety disorders. Personality and Individual Differences, 50(7), 907-915.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30