การพัฒนาการปรึกษากลุ่มเชิงคัดสรรเทคนิควิธีต่อการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท
คำสำคัญ:
การรับรู้ตราบาป, การปรึกษากลุ่มเชิงคัดสรรเทคนิควิธี, สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท `และ 2) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงคัดสรรเทคนิควิธีต่อการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในภาคตะวันออก จำนวน 420 คน ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงคัดสรรเทคนิควิธีต่อการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีคะแนนจากแบบวัดการรับรู้ตราบาปตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 12 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 29 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ มากกว่า .780 ทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.91 จากนั้นผู้วิจัยดำเนินการปรึกษากลุ่มกับสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษาและดำเนินชีวิตตามปกติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองโดยอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.06 และในแต่ละองค์ประกอบ ด้านอารมณ์ความรู้สึกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 และ 2) ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงคัดสรรเทคนิควิธีต่อการรับรู้ตราบาปของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท พบว่า สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการปรึกษาด้วยโปรแกรมการปรึกษา มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตราบาปในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการปรึกษาด้วยโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงคัดสรรเทคนิควิธีมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตราบาปในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผลต่ำกว่าสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ได้รับการปรึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
References
กรมสุขภาพจิต. (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์.
จิตภินันท์ โชครัศมีหิรัญ. (2553). ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตศึกษาต่อการลดความรู้สึกเป็นตราบาปในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เฉลิมพรรณ์ เมฆลอย. (2558). ผลของกลุ่มจิตบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและตราบาปในสมาชิกครอบครัวผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(2), 125-134.
ปรียาพร บุนนาค. (2549). ผลของการให้คำปรึกษาแบบผสมผสานเพื่อลดความวิตกของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และคณะ. (2560). ระบาดวิทยาของความผิดปกติ ทางจิตของประชาชนไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 25 (1). 1-19.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554). การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 3 (1). 94 -106.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ = Research Methodology in Behavioral Sciences (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Corey, G. (2012). Student manual for theory and practice of group counseling Brooks/Cole, Cengage Learning.
Goffman, E. (1963). Stigma: Notes on the management of spoiledidentity. Englewood cliffs: Parentice Hall.
Mak, Winnie, W.S. & Cheung, Rebecca, Y.M. (2008). Affiliate Stigma Among Caregivers of People with Intellectual Disability or Mental Illness. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/230231248_Affiliate_Stigma_Among_Caregivers_of_People_with_Intellectual_Disability_or_Mental_Illness.
Yanos, P. T., DeLuca, J. S., & Gonzales, L. (2020). The United States has a national prostigma campaign: It needs a national, evidence-based antistigma campaign to counter it. Stigma and Health,
(4), 497–498.