การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยใช้แบบจำลองคาโน
คำสำคัญ:
การประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้แบบจำลองคาโน, ทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู, ความต้องการจำเป็นมิติเดียว, ความต้องการจำเป็นที่ดึงดูดใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 3 ประการคือ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู โดยใช้แบบจำลองคาโน 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุ ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู และ 3) เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาครูเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู การวิเคราะห์หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู โดยใช้แบบจำลองคาโน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็น โดยใช้แบบจำลองคาโน จำนวน 25 ข้อ อยู่ในประเภทความต้องการจำเป็นที่ดึงดูดใจ (Attractive) มีจำนวน 17 รายการ รายการที่มีผลการประเมินความต้องการจำเป็นอยู่ในประเภทความต้องการจำเป็นมิติเดียว (One-dimensional) มีจำนวน 8 รายการ 2) สาเหตุความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูสาเหตุหลักที่ครูมีความต้องการทั้ง 3 ด้านนี้ เนื่องจากครูขาดความรู้ความเข้าใจในการวัดและประเมินผล ครูไม่เข้าใจหลักการประเมิน และขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการตรวจสอบอัตนัยและเกณฑ์การประเมิน 3) แนวทางในการพัฒนาครูเกี่ยวกับทักษะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูนั้น จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวครูเพียงอย่างเดียว ยังต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากโรงเรียน โดยนโยบายหรือแนวทางจากผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ งานวัดและประเมินผล งานพัฒนาบุคลากรในด้านวิชาการ ผู้บริหาร ร่วมกับฝ่ายวิชาการส่งเสริมให้ครูมีการวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ล่วงหน้า มีการตรวจสอบจากบุคลากรที่มีความสามารถในด้านการวัดและประเมินผลก่อนเปิดภาคเรียนในแต่ละปี โรงเรียนควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลจัดผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจเชิงลึกเฉพาะบริบทของการจัดการศึกษามาให้คำปรึกษาในลักษณะการวิพากษ์และให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงสร้างสรรค์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลย์วิสาข์ ธาราวร และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). A Needs Assessment of Teachers for Developing Learning Assessment of Secondary School Students. Online Journal of Education, 11(3), 374-389.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ = Learning measurement and evaluation. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภิสรา พวงทอง. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองคาโน (Kano Model). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ, คณะครุศาสตร์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Arefi, M., Heidari, M., Morkani, G., & Zandi, K. (2012). Application of Kano Model in Higher Education Quality Improvement: Study Master's Degree Program of Educational Psychology in State Universities of Tehran. World Applied Sciences Journal. 17.
Ku, G., & Shang, I. W. (2020). Using the Integrated Kano–RIPA Model to Explore Teaching Quality of Physical Education Programs in Taiwan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17, 3954.
Rejeb, H., Morel, L., & Boly, V. (2008). A new methodology based on Kano Model for needs evaluation and innovative concepts comparison during the front-end phases. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/4363608_A_New_Methodology_Based_on_Kano_Model_for_the_Evaluation_of_a_New_Product_Acceptability_during_the_Front-End_Phases.
Sulisworo, D., & Siswanto, L. (2019). The Analysis of Parent Satisfaction with the School Service Using Kano Methods: The Case Study at The Private School in Yogyakarta, Indonesia. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 317, Atlantis Press.