การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปี 2554 - 2563

ผู้แต่ง

  • จิตตินันท์ บุญสถิรกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ทักษะการแก้ปัญหา, การสังเคราะห์งานวิจัย, นักศึกษาระดับอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับทักษะการแก้ปัญหา และเพื่อเสนอรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยใช้ฐานข้อมูล TDC (Thai Digital Collection) ค้นหางานวิจัยย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2554 – 2563 จากนั้นนำไปเข้าเกณฑ์การคัดเลือก เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และผ่านเกณฑ์ตรวจคุณภาพงานวิจัยด้วยแบบตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย พบว่ามีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 11 งานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดที่นำมาใช้บ่อยที่สุด (ร้อยละ 16.7) เป็นแนวคิดของ Weir นอกจากนั้น รูปแบบการเรียนที่งานวิจัยใช้มากที่สุดร้อยละ 18.2 ประกอบไปด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Big Six Model และ รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการ งานวิจัยส่วนใหญ่ร้อยละ 90.9 เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยส่วนมาก (ร้อยละ 63.6) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง นอกจากส่วนมากร้อยละ 68.8 เป็นงานวิจัยที่ใช้สถิติเชิงอนุมานแบบ t-test ซึ่งมีนัยสำคัญสถิติที่ใช้มากที่สุดร้อยละ 63.6 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ดีที่สุดคือ การสอนโดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มาเสริมเข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ Big Six Model หรือรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการ เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่อยากศึกษา และค้นคว้าหาคำตอบด้วยวิธีต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสนใจของผู้เรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, จำลอง วงษ์ประเสริฐ และอวยพร เรืองตระกูล. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาพยาบาลไทย : การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 25(2), 71-87.

เจนวิทย์ วารีบ่อ, ศรัณย์ ภิบาลชนม์ และเสกสรรค์ ทองคำบรรจง. (2562). ปรากฏการณ์การลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา: การสร้างโมเดลการวัดเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(2), 220-234.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2549). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, คณะศึกษาศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติบดี ศุขเจริญ และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2557). การวิเคราะห์อภิมาน และการสังเคราะห์อภิมาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(3), 43-56.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ โดยใช้ PBL (Problem Based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.

มันทีนา มูลศรีแก้ว และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารวัดผลการศึกษา, 37(1), 171-185.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4). 280-291.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

Bellanca, J., & Ronald, S. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Indiana: Solution Tree.

Cooper, H. (2016). Research synthesis and meta-analysis: A step-by-step approach (5th ed.). California: SAGE Publications.

Denning, S. (2016). Christensen update disruption theory. Strategy & Leadership, 44(2), 10-16.

Eisenberg, M., & Berkowitz, R. (1992). Information problem-solving: The big six skills approach. School Library Monthly, 8(1), 1-16.

Fergusson, M., & Woodward, J. (2002). Mental health, educational, and social role outcomes of adolescents with depression. Archives of General Psychiatry, 59(3), 225–231.

Gilson, L. (2014). Qualitative research synthesis for health policy analysis: What does it entail and what does it offer?. Health Policy and Planning, 29(3), 1111-1115.

Glass, G. (2015). Meta-analysis at middle age: A personal history. Research Synthesis Methods, 6(3), 1-19.

Hurst, K. (1985). Problem-solving tests in nurse education. Nurse Education Today, 5(1), 56-62.

Krulik, S., & Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and Problem Solving: A Handbook for Elementary School Teachers. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Light, R., & Pillemer, D. (1984). Summing Up: The Science of Reviewing Research. Massachusetts: Harvard University Press

Owen, P. (2007). Integrating katz and chard's project approach with multicultural education in the university classroom. Journal of Early Childhood Teacher Education, 28(3), 219-232.

Rahman, M. (2019). 21st century skill "problem solving": defining the concept. Asian Journal of Interdisciplinary Research, 2(1), 71-81.

Shahbazi, S., Heidari, M., Sureshjani., E., & Rezaei, P. (2018). Effects of problem-solving skill training on emotional intelligence of nursing students: An experimental study. Journal of Education and Health Promotion, 7(1), 1-7.

Weir, J. J. (1974). Problem solving is everybody's problem. The Science Teacher, 41(4), 16-18.

World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020. Retrieved July 6th, 2021, from http://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_Jobs_2020.pdf.

Yilmaz, K. (2008). Constructivism: Its theoretical underpinnings, variations, and implications for classroom instruction. Educational Horizons, 86(2), 161-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30