การศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ความพอใจในชีวิต, กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา 2) ทดลองใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา 3) เพื่อประเมินผลการศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา กลุ่มประชากรเป็นสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลาพื้นที่กรุงเทพฯ และนนทบุรี จำนวน 6 พื้นที่ รวม 300 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน สุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามพัฒนาแผนการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แผนการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 3) แบบสอบถามความพอใจในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนา ภาพรวมเห็นด้วยมาก ลักษณะกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน ๆ ละ 2 ชุดกิจกรรม 2) ผลการทดลองใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพรวมภูมิใจ/พอใจตนเอง พูดถึงตนในแง่ดี และ มีส่วนร่วม มากที่สุด 3) ผลการศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพรวมความพอใจในชีวิตอยู่ในระดับมาก โดยหัวข้อที่พอใจสูงสุด และต่ำสุดคือ ฉันน่าจะรู้สึกพอใจ ถ้าชีวิตของฉันดำเนินต่อไปอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และ มีหลายเรื่องในชีวิตที่ฉันอยากแก้ไข ตามลำดับ
References
กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ. (2562). แนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.
โกวิท วรพิพัฒน์. (2555). ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 2564 จาก Thailand Knowledge Portal Media Thailand. http://mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post_1880.html
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิติพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาสถิติ.
ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2563). ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ Mindful Living (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา.
ณัฐฬส วังวิญญู, วิจักขณ์ พาณิช, และญาณเดช พ่วงจีน. (2552). สรุปความรู้จากการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายคุณธรรมในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา : การอบรมภาวะผู้นำทางจิตตปัญญาศึกษาสู่มหาวิทยาลัย หลักสูตรที่ 1 การเรียนรู้ด้วยหัวใจที่ใคร่ครวญ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
เทอดพงษ์ แตงไทย, เพ็ญนภา กุลนภาดล และประชา อินัง. (2564). ผลการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่องต่อความเครียดเชิงวิชาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 193.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, อดิศร จันทรสุข, และ พงษธร ตันติฤทธิ. (2551). ชุดความรู้การอบรมกระบวนการแนวจิตปัญญาศึกษา เล่ม ๒ การทำงานเชิงอาสาสมัคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา.
นงลักษณ์ ประเสริฐ และจรินทร วินทะไชย. (2553). ชุดฝึกอบรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรเมศวร์ พืชผักหวาน และคณะ. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 245.
พรรณทิพา เวชรังษี และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้สำหรับภาวะพฤฒพลัง. วารสารจิตวิทยาเกษมบัณฑิต, 10(2), 111-119.
พรรณธิภา เอี่ยมสิริปรีดา, อัจศรา ประเสริฐสิน, และ นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2560). การสร้างเสริมพลังในผู้สูงอายุผ่านการทํางานอาสาสมัคร (เล่มที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.
พระครูใบฎีกาหัสดี กิตตินนโท. (2560). การพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนา. สารนิพนธ์พุทธศาสตร์บัณฑิต. 208-220.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2564). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
วิจารณ์ พานิช. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา.
สุรพงษ์ มาลี. (2561). รู้จักสังคมผู้สูงอายุและสถานการณ์ผู้สูงอายุ (ในประเทศไทย). วารสารข้าราชการ, 60(4), 5-8.
Diener, E., Oishi, S., & Lucas, R. E. (2003). Personality, culture, and subjective well- being: Emotional and cognitive evaluations of life. Annual review of psychology, 54(1), 403-425.
Knowles, M.S. (1950). Informal Adult Education: A Guide for Administrators, Leaders, and Teachers. New York: Association Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.
McMillan, J.H. & Schumacher, S. (2014). Research in Education: Evidence-Based Inquiry. Pearson Education.
Mezirow, J. (2000). Learning to think like an adult: Core concepts of transformation theory. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. New York: Oxford University Press.