การพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบนำตนเอง, ประสบการณ์เรียนรู้, รูปแบบการสอนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนออนไลน์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง และ 3) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการนำเสนอ ตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ของแต่ละภาควิชา จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 266 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามรูปแบบการสอนออนไลน์ของผู้บริหาร และคณาจารย์ 2) แบบสอบถามความสามารถในการนำตนเองของนักศึกษา 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการนำเสนอ 4) แบบประเมินผลการเรียนรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตามแนวคิดการพัฒนา ADDIE Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยส่วนมากใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์ คือ Google Meet, Line Application, Google Classroom, Google Forms รวมถึงการสืบค้นข้อมูลในการศึกษาหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมจาก Google และในภาพรวมของความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก
2. ผลประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
References
กัมปนาท คูศิริรัตน์, และนุชรัตน์ นุชประยูร. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงานที่มีต่อผลสัมฤทธ์ทางการเรียนรู้และการรู้สารสนเทศ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 10(2), 49-61.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ วิถีที่เป็นไปทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564 จาก https://bit.ly/3co7wRU.
ณรงค์ฤทธิ์ ภิรมย์นก. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนําตนเอง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 3(1), 51-57.
เบญจนาฏ ใจบุญ, สุเมษย์ หนกหลัง, และ นฤมล พระใหญ่. (2561). ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน (อุภัยเพชร) จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(97), 33-44.
ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม. (2559). การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบโดยใช้แบบจำลอง ADDIE. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 6-17.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
โรงเรียนขุนห้วยบ้านรุ่ง. (2562). คู่มือการจัดการศึกษาแนวประสบการณ์ด้วยกิจกรรม "ตลาดนัดหัดค้า" โรงเรียนขุนห้วยบ้านรุ่ง. ตาก: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112-126
สมชาย รัตนทองคำ. (2556). เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบำบัด. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564 จาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/13eva56.pdf.
สิรินธร สินจินดาวงศ์, และ ผุศดี กลิ่นเกษร. (2563). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัย Lifelong Learning for the Elderly. ประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่4 หัวข้อ “การศึกษายุค Digital Disruption” วันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หน้า 70-83.
อัจศรา ประเสริฐสิน, และ วรัญญา รุมแสง. (2562). แนวทางการนำผลการวัดความถนัดทางการเรียนมาใช้ในการวางแผนอาชีพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 1-15.
อนุภูมิ คำยัง. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยทางการศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 132-143.
อุไรวรรณ ชินพงษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Israel, Glenn D. (1992). Determining Sample Size. This document is Fact Sheet PEOD-6, a series of the Program Evaluation and Organizational Development, Florida Cooperative Extension Service, Institute of Food and Agricultural Sciences, University of Florida.
Kolb, D. & Kolb, A. (2021). EXPERIENCE BASED LEARNING SYSTEMS, LLC (EBLS). Retrieved from https://learningfromexperience.com
McCarthy, M. (2016). Experiential Learning Theory:From Theory To Practice. Journal of Business & Economics Research, 14(3), 91-100.
World Health Organization South-East Asia Thailand. (2564). Coronavirus (Thailand). Retrieved from https://www.who.int/thailand/news/detail/13-01-2020-thailand-responding-to-the-novel-coronavirus.