รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านคุณลักษณะทางจิตและสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ โดยส่งผ่านความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา สาขาผู้ประกอบการ

ผู้แต่ง

  • อมินดารา อริยธาดา สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ
  • กฤตติพัฒน์ ชื่นพิทยาวุฒิ นักวิจัยอิสระและนักจิตวิทยาคลินิก จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, พฤติกรรมมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ, ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการโดยมีความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการเป็นตัวแปรส่งผ่าน ของนักศึกษาสาขาผู้ประกอบการและ 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยคุณลักษณะทางจิตและสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษา สาขาผู้ประกอบการ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาผู้ประกอบการหรือสาขาวิชาที่ใกล้เคียง จำนวน 389 คน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษา จำนวน 240 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ gif.latex?\chi2= 118.97, df= 50, p-value = .00, gif.latex?\chi2 / df =2.45, RMSEA = .08, CFI = .98, GFI = .93, and AGFI = .87 2) สภาพแวดล้อมทางการศึกษาและเจตคติที่ดีต่อการเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) สภาพแวดล้อมทางการศึกษาและเจตคติที่ดีต่อการเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการผ่านความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คมกริช นันทะโรจพงศ์, ภูธิป มีถาวร และประสบชัย พสุนนท์. (2561). พฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการของวัยรุ่นไทย: อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถตนเองและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการในบริบทวัฒนธรรมแบบรวมกลุ่ม. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 44-59.

เจนวิทย์ วารีบ่อ, ศรัณย์ ภิบาลชนม์ และเสกสรรค์ ทองคำบรรจง. (2562). ปรากฏการณ์การลาออกกลางคันและการคงอยู่ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา: การสร้างโมเดลการวัดเหตุผลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(100), 220-234.

บุษกร วิเศษสมบัติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(101), 215-226.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่องข้อเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs มุ่งสู่ผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ประจำปี 2565. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564 จาก https://ops.go.th/main/images/30072564P1.pdf.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). แผนการส่งเสริม SME พ.ศ. 2564-2565. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210820091040.pdf

อินทรียา อัญพัชร์ และดวงเดือน ศาสตรภัทร. (2563). ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 33-43.

Ajzen, I. (2002). Perceived Behavioral Control, Self‐Efficacy, Locus of Control, and the Theory of Planned Behavior1. Journal of Applied Social Psychology, 32(4), 665-683.

Appiah-Nimo, C., Ofori, D. & Arthur, K. N. A. (2018). Assessment of entrepreneurship education on entrepreneurial intentions: evidence from university of cape coast. Global Journal of management and business research: a administration and management, 18(9), 1-11.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (2010). Predicting and changing behavior: The reasoned action approach. New York: Psychology Press.

Fragoso, R., Rocha-Junior, W. & Xavier, A. (2019). Determinant factors of entrepreneurial intention among university students in Brazil and Portugal. Journal of small business & entrepreneurship, 32(1), 33-57.

Hair, J. F., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Black, W. C. (2018). Multivariate Data Analysis. Red. UK: Cengage Learning EMEA.

Kelloway, E. K. (1998). Using LISREL for structural equation modeling: A researcher's Guide. Thousand Oaks: Sage Publications.

Kline, R. B. (2016). Principles and practice of structural equation modeling (4th ed.). New York: Guilford Press.

Liu, X., Lin, C., Zhao, G., and Zhao, D. (2019) Research on the Effects of Entrepreneurial Education and Entrepreneurial Self-Efficacy on Conllege Students’ Entrepreneurial Intention. Frontiers in Psychology, 10, 869.

Mahendra, A. M., Djatmika, E. T. & Hermawan, A. (2017). The effect of entrepreneurship education on entrepreneurial intention mediated by motivation and attitude among management students, state university of Malang, Indonesia. International Education Studies, 10(9), 61-68.

Mamun, A. A., Nawi, N. B. C., Mohiuddin, M., Shamsudin, F. F. B., & Fazal, S. A. (2017). Entrepreneurial intention and startup preparation: A study among business students in Malaysia. Journal of Education for Business, 92(6), 296-314.

Ma, X., Rui, Z. and Zhong, G. (2022), How large entrepreneurial-oriented companies breed innovation: the roles of interdepartmental collaboration and organizational culture, Chinese Management Studies. https://doi.org/10.1108/CMS-06-2021-0247.

Shah, N. & Soomro, B. A. (2017). Investigating entrepreneurial intention among public sector university students of Pakistan. Education + training, 59(7/8), 841-855.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30